แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผู้แต่ง

  • มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์
  • ภาสกร เรืองรอง

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, คุณลักษณะนวัตกร, นวัตกร, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

          การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนวัตกร ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุงปีพุทธศักราช 2562 (หลักสูตรสี่ปี) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์ แบบประเมินความเหมาะสมสอดคล้องคุณลักษณะนวัตกรโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามคุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู โดยดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและสรุปผลการวิจัยดังนี้

          ระยะที่ 1 ผลการสังเคราะห์คุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง แบ่งออกเป็น 8 ด้าน คือ 1) ด้านมีความเชี่ยวชาญในสาขา 2) ด้านนักปฏิบัติ 3) ด้านมีอิสระ ทางความคิด 4) ด้านการทำงานเป็นทีม 5) ด้านมีความมุ่งมั่นตั้งใจ 6) ด้านความเป็นผู้นำ 7) ด้านการยอมรับความเสี่ยง และ 8) ด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยพิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 (S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาข้อย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ขึ้นไป ประกอบด้วย 34 ข้อย่อย เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครูและนำไปใช้เก็บข้อมูลการรับรู้คุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครูต่อไป

          ระยะที่ 2 ผลการศึกษาการรับรู้คุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู พบว่า การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครูทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 (S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัญหาการรับรู้คุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู ด้านที่ควรได้รับการส่งเสริมเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากน้อยที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านมีอิสระทางความคิดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 (S.D. = 0.73) อยู่ในระดับมาก 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 (S.D. = 0.76) อยู่ในระดับมาก และ 3) ด้านมีความเชี่ยวชาญในสาขามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 (S.D. =0.68) อยู่ในระดับมาก

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์พัชร พรสวรรค์. (2561). รูปแบบจินตวิศวกรรมแบบร่วมมือด้วยเกมิฟิเคชันบนสังคมคลาวด์เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะนวัตกรและทักษะการคิดนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

ภาสกร เรืองรอง และมะยุรีย์ พิทยาเสนีย์.(2564). แนวคิดเชิงคำนวณร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 11(1): 1-16.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวัตกรรมการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. Suranaree J. Soc. Sci, 9(2): 133-156.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอนเครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร. มหาวิทยาลัย นเรศวร, 19(3): 50-62.

Andrew A King & Karim R. Lakhani. (2013). Using Open Innovation to Identify the Best Ideas. MIT Sloan Management Review 55(1) :41-48.

Cees de Bont, Sylvia Xihui Liu. (2017). Breakthrough Innovation through Design Education: Perspectives of Design-Led Innovators. 33(2):18-30, doi: 10.1162/DESI_a_00437.

Courtney Erin Driggs Lark (2015). Identifying pioneers of tomorrow: a study of the relationship between middle school students’ innovator skills and stem interests. (Creighton University in Partial Fulfillment of the Requirements for the degree of Doctor).

Day, J. (2016). The 10 Characteristics of Great Innovators. [Online]. Available: https://ideascale.com/10-qualities-of-great-innovators. Access on 14 Jan 2021

Eddie Newquist. (2015). 7 Characteristics of Highly Successful Innovators. [online]. Available: https://www.disruptorleague.com/blog/2015/03/13/7-characteristics-of-highly-successful-innovators. Access on 28 Jan 2021.

Ivan Widjaya. (2020). 9 Key Traits of Innovators and Entrepreneurs. [online]. Available: http://www.smbceo.com/2020/03/24/key-traits-of-innovators-and-entrepreneurs.

Margaret Vaughn and Seth A. Parsons. (2013). Adaptive Teachers as Innovators: Instructional Adaptations Opening Spaces for Enhanced Literacy Learning. Digital Learning in Teacher Education. 91(2), 81-93. [online]. Available: https://www.jstor.org/stable/24575032.

Mei-Chen Lo, Yi-Chuan Hsu and Martin Drozda. (2015). Entrepreneur’s Priority Traits on Creative and Innovative Behavior in Technology Era – Case of Innovative New Start-Up Businesses. Proceedings of the 2015 IEEE IEEM,455-459.

Rebecca O. Bagley. (2014). The 10 Traits of Great Innovators. [online]. Available: https://www.forbes.com/sites/rebeccabagley/2014/01/15/the-10-traits-of-great-innovators/?sh=3aace8dd4bf4. Access on 28 Jan 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-07-2021