รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานพืชเศรษฐกิจกาแฟในระบบวนเกษตร

ผู้แต่ง

  • ศรีไพร สกุลพันธ์ Uttaradit Rajabhat University
  • ปิยวรรณ ปาลาศ
  • เจษฎา มิ่งฉาย
  • ธนกร สิริสุคันธา

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการ, ห่วงโซ่อุปทาน, พืชเศรษฐกิจกาแฟ, ระบบวนเกษตร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานพืชเศรษฐกิจกาแฟในระบบวนเกษตร ใช้การดำเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ผลิตกาแฟในระบบวนเกษตร 3 พื้นที่ ได้แก่ ต.บ้านด่านนาขาม อ.เมือง ต.แม่พูล อ.ลับแล และ ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 15 หน่วยงาน ทำการเจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักโดยถือเกณฑ์ความเกี่ยวข้อง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ จัดทำแบบถามและการสังเกต นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความตรงของข้อมูล และนำรูปแบบการจัดการที่ได้ไปทดลองใช้

          ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานพืชเศรษฐกิจกาแฟในระบบวนเกษตร ทางกลุ่มต้องมีการจัดการต้นน้ำ ได้แก่การบำรุงรักษาต้นกาแฟ โดยการตัดแต่งกิ่งและใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากเปลือกกาแฟร่วมกับการคลุมดิน จะทำให้อัตราการสุกของเมล็ดกาแฟสูงสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ การเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟทีละเมล็ดแทนการรูด การปรับเปลี่ยนพื้นที่ตากให้เพียงพอกับปริมาณผลผลิตและปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการจัดเก็บเมล็ดกาแฟเชอรี่ เพื่อลดการสูญเสีย การจัดการกลางน้ำเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากรูปแบบการผลิตแบบเดิมซึ่งจำหน่ายเป็นกาแฟเชอรี่ ราคา 10 - 15 บาทต่อกิโลกรัม ใช้การรวมกลุ่มสำหรับรวบรวมเมล็ดกาแฟเชอรี่ให้ได้ปริมาณที่ต้องการ และพัฒนากระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟสารหรือเมล็ดกาแฟคั่ว เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคหรือเพื่อการขายปลีกและขายส่งตามร้านกาแฟภายใต้ตราสินค้าของกลุ่ม จะสามารถลดต้นทุนการผลิตและยกระดับราคาสินค้าได้

References

กรวิทย์ ฟักคง และสมรรถชัย แย้มสอาด. (2565). โซ่อุปทานและโอกาสทางการตลาดของ อุตสาหกรรมกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟบนที่สูงของไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการ แข่งขันทางการตลาดในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(1), 56-67.

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร. (2561). กาแฟ ปี 2561 (ปีเพาะปลูก 2560/61). http://www.doa.got.h/.

จุฑาธิป ประดิพัธ์นฤมล, ขนิษฐา ไชยแก้ว, คงเดช พะสีนาม, จิรศิต อินทร, ผกาวดี ภู่จันทร์ และพัสกร ลี้วิศิษฎ์พัฒนา. (2565). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของกระบวนการกาแฟเพื่อความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านรักไทย ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(1), 15-27.

เจษฎา มิ่งฉาย, พิมพ์ใจ สีหะนาม และสมพร วงศ์ฝั้น. (2556, 21-23 มกราคม). การจัดการความรู้และการพัฒนาชุดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตไม้ผลในระบบวนเกษตร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. [การนำเสนอ]. การประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาครั้งที่ 1, พิษณุโลก: ประเทศไทย.

เชิญ ยาโม้ และสีมา แก้วกำเหนิด. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 10 ตุลาคม 2561).

ดมิสา กลั่นหุ่น. (2563). กลไกการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกาแฟสู่ตลาดโลก จากตรารับรองคุณภาพ Fairtrade กรณีศึกษา: กาแฟดอยช้าง. [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. The Graduate School of Environmental Development Administration (GSEDA). [ออนไลน์], แหล่งที่มา. http://gseda.nida.ac.th/academics/database/students/fileupload/isdocument/20201105004252.pdf

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2561). ตลาดกาแฟระส่ำพื้นที่ปลูก-ผลผลิต ลดวูบ แห่พึ่งบราซิล-เวียดนาม. https://www.prachachat.net/local-economy/news-132947/

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2560). ผลผลิตกาแฟอาราบิก้า เชียงรายพุ่ง 4 พันตันดอยช้างรุกกาแฟพรีเมี่ยม “เกอิชา” โลละ 8 พัน. https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-30680/

ปิยะ มูลดิษฐ์. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 13 กุมภาพันธ์ 2562).

เมษา ปินตาพัวะ และเรียน ปินตาพัวะ. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 25 ตุลาคม 2561).

Chandra, C., & Kumar, S. (2001). Enterprise Architectural Framework for Supply Chain Integration.Journal of Industrial Management & Data Systems, 101(6), 290-304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022