การบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครุศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ธนัช มหาสินทรัพย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการเรียนรู้, วิจัยเป็นฐาน, นักศึกษาครุศาสตร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษาของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต โดยใช้การบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัย
เป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านกระบวนการวิจัยของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเป็นฐานกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตโดยใช้การบริหารจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความสามารถด้านกระบวนการวิจัยของนักศึกษาหลังเรียน ด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานอยู่ในระดับมาก และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). วิสัยทัศน์ พันธกิจ, [ระบบออนไลน์], แหล่งที่มา https://edu.cmru.ac.th/web/mission/. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564.

แจ่มละมัย โจระสา. (2560). การปฏิบัติการพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ญาณิศา บุญจิตร์. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาการประกันคุณภาพการศึกษา. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ทรงนคร การนา. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดทำแผนบทเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูช่าง. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เพชรวศรี ขัวโคก. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารและการแยกสารผสมสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มนตรี จันตะมะ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการประเมิน และออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของพืชดอกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วชิวัฒน์ ตรีเดช. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดเชิงคณิตศาสตร์เรื่องสมการและการแก้สมการด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิจัยเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิชญา ผิวคำ. (2661). การส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาประถมศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิวพร ลินทะลึก. (2562). รูปแบบการเรียนรู้วิจัยเป็นฐานโดยคลังปัญญาดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโครงการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุดคะนึง ณ ระนอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัยและทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สุภาพร สุริยะสุขประเสริฐ. (2561). รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022