การส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงตามการรับรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุจินต์ วังใหม่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • สายฝน แสนใจพรม
  • สำเนา หมื่นแจ่ม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงวิชาชีพ, การส่งเสริมภาวะผู้นำ, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาชีพสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงตามการรับรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และเปรียบเทียบระหว่างระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาชีพที่มี ตำแหน่ง คุณวุฒิและประสบการณ์ ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ต่างกัน จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าครอนบัคที่ระดับความเชื่อมั่น 0.86 ทั้งฉบับ

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาชีพสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงตามการรับรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้อยู่ในระดับมากด้านผลลัพธ์การประยุกต์ใช้ระดับมาก และด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการเปรียบเทียบระดับการส่งเสริมภาวะผู้นำของผู้บริหารและครูที่มีคุณวุฒิ และประสบการณ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ระดับการส่งเสริมภาวะผู้นำที่มีตำแหน่ง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครู มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กนกกาญจน์ จีรศิริเลิศ และคณะ. (2562). การประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกส์สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบประเภทที่ 2 กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย. ปีที่ 5. ฉบับที่ 2.

ไกรลาศ ดอนชัย. (2556). รูปแบบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาวิชาชีพเฉพาะทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา. ภาควิชาครุศาสตร์. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ขรรค์ไชย์ วดิศิริศักดิ์, ชุติมา มุสิกานนท์ และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. (2562). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3. หน้า 5928-5938.

จินตนา ถ้ำแก้ว และสุราษฎร์ พรมจันทร์. (2559). รูปแบบการพัฒนากระบวนการจัดการวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2. 54-69.

จำเริญรัตน์ จิตต์จีรจรรย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 20. ฉบับที่ 2.161-171.

จรุงรัตน์ พันธ์สุวรรณ, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ และมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. (2564). การใช้ภาวะผู้นำในการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารมหาจุฬานคทรรศน์. ปีที่ 8. ฉบับที่ 1. หน้า 312-325.

ณัฐ ประสีระเตสัง และดุสิต อุทิศสุนทร. (2559). ภาวะการณ์มีงานทำของบัณฑิต : เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2557-2558. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 992-1000.

ปริญญา อึ้งตระกูล. (2556). การประมวลความรู้ในการทดลองแม่พิมพ์และแนวทางการตัดสินใจการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร)

มสารัศม์ ฤกษ์ศานติวงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนงานของหัวหน้างานเพื่อการทำผลงานวิชาการสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ยุภาดี ปณะราช. (2558). การพัฒนากิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครู สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี. ปีที่ 2. ฉบับที่ 2.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อคุณลักษณะการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2. 57-71.

สำเนา หมื่นแจ่ม และคณะ. (2555). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูง. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2. 52-68.

สายฝน แสนใจพรม และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2561). รูปแบบการพัฒนาบทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 20 ฉบับที่ 3. 210-223.

สุดสาย ศรีศักดา และคณะ. (2561). สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของครูอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. ปีที่ 12. ฉบับที่ 3. 145-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-09-2021