การบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
การบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการขยะ, นวัตกรรม, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริหารจัดการขยะของประชาชน (2) ยกระดับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และ (3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 191 คน ใช้วิธีการแบบเจาะจงใช้วิธีการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และดำเนินโครงการนำร่อง การศึกษาเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน การคำนวณจำนวนตัวอย่างใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane,1973) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลป่าตันนาครัวมีเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการขยะจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านสบทะ หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านดอกสะบันงา หมู่ที่ 8 และ ชุมชนบ้านนาคตพัฒนา หมู่ที่ 9 นวัตกรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม มี 3 รูปแบบ คือ (1) การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ (2) การสร้างเผาถ่าน 200 ลิตร และ (3) การผลิตถ่านอัดแท่ง และเกิดนวัตกรรมทางสังคมคือการมีส่วนร่วมของพื้นที่ที่มาจาก 3 ภาคส่วน คือ ท้องถิ่น ท้องที่ และภาคประชาชน โดยมีกลไกขับเคลื่อน คือ ข้อมูลการวิเคราะห์องค์ประกอบขยะ และการทดลองเชิงปฏิบัติการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนต้นแบบจำนวน 3 ชุมชน
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพลส.
ชนิดา เพชรทองคํา และคณะ. (2554). การบริหารจัดการขยะและเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา อบต.ไร่ส้ม จังหวัดเพชรบุรี, รายงานการวิจัย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. บุ๊คพอยท์ วิชาการ: นนทบุรี.
ไพโรจน์ จันทร์แก้ว. (2552). โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีพลังงานเตาเผาถ่าน 200 ลิตร ให้กับชุมชนห่างไกลความเจริญในจังหวัดตากแบบยั่งยืน, รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
สุพจน์ ศรีแกวงศ์. นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว. สัมภาษณ์, 9 มีนาคม 2558.
วิไลลักษณ์ พรมเสน. (2558). การศึกษารูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง, รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง