การพัฒนารูปแบบการบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สาริกา ราชบุญทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย
  • นภาเดช บุญเชิดชู

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, สภาพแวดล้อมการเรียนรู้, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ผู้บริหารและครู จำนวน 659 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม คู่มือการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ในการนำไปใช้และเป็นประโยชน์ และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กระบวนการบริหารสภาพแวดล้อม มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และด้านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ และ 4) ผลลัพธ์การบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
  2. รูปแบบการบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ ในการนำไปใช้และเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกรัตน์ บุญไชโย. (2559). โมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ตามหลักการ การใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์. หน้า 18-19

วีระศักดิ์ พลมณี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.หน้า 349

ศรีทัศน์ วิรัสวา. (2558). การพัฒนาระบบบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. หน้า 10

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. หน้า 37

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. หน้า 600

Astin, A. W. (1970). The methodology of research on college impact, part one. Sociology of Education, 43(3)

Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2010). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press.

Partnership for 21st century skill. (2012). Framework for21st century learning. [online], Available HTTP: http://www.p21.org2index.php?option= com_conten&task=view&id=254& Itemi d=120. Access on 20 June 2012.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-12-2021