การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารงานวิชาการแบบ JIAMS+H Model โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เจียมพดล ไชยยาลักษณ์ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, กลไกการบริหาร, การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการ ปัญหาและวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เพื่อสร้าง ตรวจสอบประสิทธิภาพและประเมินรูปแบบ กลไก และคู่มือการบริหารงานวิชาการแบบ JIAMS+H Model และเพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบและกลไกการบริหารงานวิชาการแบบ JIAMS+H Model ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน ปีการศึกษา 2561 และ 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพ  แบบประเมินรูปแบบ กลไก และคู่มือการบริหารงานวิชาการโรงเรียน แบบสอบถามผลการใช้รูปแบบและกลไกการบริหารงานวิชาการ แบบสรุปผลการสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 และ 2562 และแบบสอบถามผลการสะท้อนกลับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าสภาพการดำเนินการด้านวิชาการของโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมมีปัญหาด้านบุคลากร หลักสูตร การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการจัดแหล่งเรียนรู้ ผลการสร้าง ได้รูปแบบการบริหารงานรูปแบบ กลไก และคู่มือการบริหารงานวิชาการแบบ JIAMS+H Model ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การกำหนดภาระงานและการพัฒนาทีม การบูรณาการหลักสูตรสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน การวิจัยเชิงปฏิบัติการในห้องเรียน การบริหารจัดการสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ผลการประเมินประสิทธิภาพ รูปแบบ และคู่มือการบริหารงานวิชาการ ได้ค่าด้ชนีความสอดคล้องความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษา (IOC) เท่ากับ 0.87 และผลการประเมินรูปแบบ กลไก และคู่มือ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษาอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ผลการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม พบว่าคณะครูสามารถใช้รูปแบบ กลไก และคู่มือการบริหารงานวิชาการแบบ JIAMS+H Mode ระดับมากที่สุด นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการสอบจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงกว่าระดับประเทศคิดเป็นร้อยละ 9.30 นอกจากนี้ นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศิษย์เก่าและผู้แทนชุมชนให้ช้อมูลสะท้อนกลับต่อการบริหารงานวิชาการโดยรูปแบบ กลไก และคู่มือการบริหารงานวิชาการแบบ JIAMS+H Mode ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สํานักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คมพล สุวรรณกูฏ. (2553). ระบบและกลไกสนับสนุนให้คณาจารย์ประจำทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. มหาวิทยาลัยราขภัฏรำไพพรรณี.

จันทนา นนทิกร. (2552). การสังเคราะห์วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ระบบเรียนรู้: การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา, http://resource.thaihealth.or.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2557). การจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ด้วยพลังเครือข่าย, วารสารการศึกษาไทย, สิงหาคม 2557 ปีที่ 11 ฉบับที่ 116 หน้า 3 สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. 2550.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2553). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา, https://www.obec.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2562.

Dept. of Education, Patna University. (2021). SYSTEM APPROACH. [online], Retrieve from https://www.patnauniversity.ac.in/e-content/education/MEd35.pdf, 21 April 2021.

Wilson, R.J. (2001). School-Based Management in Alberta: Perceptions of Public School Leaders 1994-1997. Dissertation Abstracts International, 62(03), A-337.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022