ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มะขามจากร้านมะขามริมทางในจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์มะขามแปรรูปบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มะขามจากร้านมะขามริมทางในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กำหนดการศึกษาผ่านข้อมูลด้านความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการผู้ประกอบการ และผู้มีประสบการณ์ร้านมะขามริมทางจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคร้านมะขามริมทางจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างมีขนาด 400 คน โดยใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การขายโดยใช้พนักงานการตลาดทางตรง และการจัดกิจกรรมพิเศษส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มะขามจากร้านมะขามริมทางในจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่าย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มะขามจากร้านมะขามริมทางในจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กรมทรัพสินทางปัญญา. (2563). มะขามหวานเพชรบูรณ์. สืบค้นจาก. https://www.ipthailand.go.th
กรมการพัฒนาชุมชน. (2558). รายได้จากการจาหน่ายสินค้า OTOP ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘. 9 ธันวาคม 2563 , สืบค้นจากhttp://cddata.cdd.go.th.
นวนันทน์ ศรีสุขใส และชมพูนุช จิตติถาวร. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าโขมพัสตร์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 11(3): 15-23.
เจกิตาน์ ศรีสรวล และณัฐพร อิฐสุวรรณ กัง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี.16(4): 79-89.
พิชญ์พล ศรีโพธิ์เผือก. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านขายของฝากของจังหวัดเพชรบูรณ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฟ้าพิไล ทวีสินโสภา. (2560). แนวทางการพัฒนาร้านขายสินค้าที่ระลึกเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชุมชนในจังหวัดตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 113-126.
มาลินี คำเครือ และ ธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารราชภัฏกรุงเก่า, 6(1): 1-8.
รัชนก พัฒนะกุลกำจร และ สุมาลี สว่าง. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และกลุ่มอ้างอิง ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟ Non-Franchiseในรูปแบบคาเฟ่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบริหารธรุ กิจเทคโนโลยีมหานคร.1(18): 97-114.
วริษฐา กิตติกุล และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของฝากสินค้าบริโภคในจังหวัดฉะเชิงเทรา. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปีการศึกษา 2562 (หน้า 922-936). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จากัด.
เสรี วงษ์มณฑา. (2552). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3ed. New York: John Wiley and Sons Inc.
Kotler, P. (2014). Marketing management (14th ed.). Pearson Education: Prentice Hall.
Kotler, Philip and Keller, Kevin Lane. (2012). Marketing Management, 14th edition. Harlow: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง