การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ณัฐณพัชร์ กลิ่นใจ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นงลักษณ์ ใจฉลาด

คำสำคัญ:

บัณฑิตศึกษา, สภาพปัญหาและแนวทาง, การจัดการศึกษา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2) ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มประชากรและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลข้อมูลในครั้งนี้ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลงานบัณฑิตศึกษา คณะที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 79 คน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายวิชาการหรือผู้มีประสบการณ์ด้านบัณฑิตศึกษาไม่ต่ำกว่า 4 ปี จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในภาพรวมพบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาสุงสุด คือ ด้านจัดการหลักสูตร รองลงมาคือด้านอาจารย์และบุคลากรและด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดมีปัญหาในระดับปานกลาง และด้านที่มีปัญหาต่ำสุด คือ ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในภาพรวม พบว่า มีแนวทางในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านหลักสูตรมีแนวทางดังนี้ 1) ควรมีการทบทวนในการพัฒนาหลักสูตรตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร 2) ควรให้มีหน่วยงานที่สามารถดูแลหรือรับผิดชอบด้านระดับบัณฑิตศึกษาโดยตรง 3) ควรให้มีบุคลากรที่ดูแลเกี่ยวกับทางด้านบัณฑิตศึกษาโดยตรง 4) ควรมีการวางแผนด้านอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อระดมพลังสมองเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตร

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562: การประกันคุณภาพการศึกษา. https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2021/05/20210531145957_66340.pdf

ชนิดาภา ธรรมสอน. (2551). การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. การศึกษาอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ทองธรรม ธีระกุล, วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์, เสาวนีย์ แสงสีดำ, วารุณี ทิพโอสถ, ศศิธร ดีใหญ่ และโสภิณ วัฒนเมธาวี. (2555). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(2), 48-61.

ทองธรรม ธีระกุล, วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์, เสาวนีย์ แสงสีดำ, วารุณี ทิพโอสถ และศศิธร ดีใหญ่. (2556). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. หน่วยวิจัยสถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีรอยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2565). ประวัติความเป็นมา. https://www.psru.ac.th/history

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2565). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558. https://bandhit.srru.ac.th/wp-content/uploads/2022/11/g01.pdf

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2562). เอกสารวิทยากร เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2562. https://acad.srru.ac.th/?p=4348

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022