การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์ชุมชนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • สมบัติ กันบุตร
  • น้ำฝน รักประยูร
  • รัฐพงศ์ ปกแก้ว
  • สุภารัตน์ อำนาจ

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, อาหารท้องถิ่น, การสร้างสรรค์, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์ชุมชนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร 2) ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้มีความหลากหลาย โดยใช้วัตถุดิบภายในชุมชนนครชุม สำหรับวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ศึกษาจำนวน 100 คน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ และข้อมูลเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดลำดับความสำคัญ จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากศักยภาพด้านวัตถุอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผลการศึกษาจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าการพัฒนาอาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนนครชุมเพื่อเป็นการต่อยอดวัฒนธรรม ในการเสริมจุดแข็งที่จะต้องเร่งรีบดำเนินการตั้งแต่ในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพราะวิถีชีวิตที่หลากหลายของชุมชนนครชุมและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ศักยภาพในการผลิตสินค้าอาหารท้องถิ่นมีคุณภาพอยู่ในระดับหนึ่งที่ใช้เทคนิคและวัตถุดิบท้องถิ่นในชุมชนนครชุม การถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะในการพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นของชุมชน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีดังนี้ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์มีหลากหลาย และหลายขนาด รสชาติ คุณภาพ อยู่ในระดับมาก (3.78) 2) ด้านราคา พบว่าการตั้งราคาให้มีหลายระดับและการติดราคาไว้อย่างชัดเจน ราคา เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า อยู่ในระดับมาก (3.76) 3) ด้านช่องทางการจัดจําหน่ายพบว่าตลาดในชุมชน การออกบูธของการท่องเที่ยว งานแสดงสินค้าร่วมกับหน่วยงานของรัฐ อยู่ในระดับมาก (3.67) 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสื่อต่าง ๆ ในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลากหลายและมากขึ้น อยู่ในระดับมาก (3.60)

References

วุฒินันท์ สุนทรขจิต. (2551). ร้านอาหารญี่ปุ่นสมัยใหม่ พื้นที่การสื่อสารความหมายอัตลักษณ์และความเป็นญี่ปุ่น. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. น. 45.

หทัยชนก ฉิมบ้านไร และรักษ์พงศ์ วงศาโรจน. (2558). ศักยภาพอาหารพื้นเมืองและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหาร พื้นเมืองจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. Vol. 11 No. 1 (2015). น. 37.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. น. (บทคัดย่อ).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560 - 2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. พ.ศ.2560 – 2564. น. 65. สำนักรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022