ความคิดเห็นของการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ภานุมาศ ฉัตรพิทักษ์โชค Burapha University
  • ฐิติพงษ์ อ่ำสุข

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, คุณภาพชีวิต, การก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชน  ที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการก่อตั้งโรงงานอุสาหกรรม รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

          ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนมีข้อดีในการพัฒนา ทำให้ประชาชนมีงานทำ สร้างรายได้แก่ชุมชน ส่วนข้อเสียคือผลกระทบทางลบที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านจิตใจ ตามลำดับ  

          ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการสร้างแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และผู้ประกอบการให้ความสำคัญ ร่วมกันหามาตรการและกฎระเบียบเพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบในด้านลบที่เกิดต่อประชาชน อีกทั้งควรให้ความรู้และส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยและการป้องกันอันตรายจากมลพิษแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กฤษณะ เชี่ยวเวช. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อความยั่งยืนของชุมชนในเขตประกอบการอุตสาหกรรม. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 63-71.

จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย, รัตนาภรณ์ อาษา และนิชากานต์ ดอกกุหลาบ. (2562). ผลกระทบของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมทานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(3), 264-271.

ธัญญลักษณ์ ปุณญจิรโชติสกุล และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2562). ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของประชาชนจากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(1), 19-43.

ระพีพรรณ จันทรัตน์. (2561). ผลกระทบที่มีต่อประชาชนในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา.

ศิริโชค ประทุมพิทักษ์. (2561). ผลกระทบต่อชุมชนที่เกิดจากการตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก: กรณีของเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 82–89.

อรยา จันทมาลา และไททัศน มาลา. (2565). ผลกระทบจากโรงงานกำจัดขยะพิษต่อชุมชนแห่งหนึ่งในตำบลห้วยโจด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์., 17(1), 59-68.

อานนท์ ด่านตระกูล. (2564). ที่ตั้งและผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองของอุตสาหกรรมโรงโม่หิน กรณีศึกษาตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรี

[มหาวิทยาลัยศิลปากร].

Industrial Estate Project in Special Economic Development Area. (2019). Industrial Estate Authority of Thailand. Annual Report.

Likert, R. (1967). The Human Organization. McGraw – Hill. Inc.

World Health Organization [WHO]. (2004). The World Health Organization Quality of Life (WHOQOL)-BREF (No. WHO/HIS/HSI Rev. 2012.02). World Health Organization.

Yamane, T. (1967). Statistics, An introductoryanalysis (2nd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023