ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเทคนิคการปรึกษา แบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางอารมณ์ ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมแนะแนว, เทคนิคการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม, ความฉลาดรู้ทางอารมณ์, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19), ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางอารมณ์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง และ (2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งหมด 86 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 43 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 43 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเทคนิคการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (2) ชุดสนเทศ และ (3) แบบวัดความฉลาดรู้ทางอารมณ์ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเทคนิคการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้ทางอารมณ์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) สูงกว่าก่อนการทดลอง และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้ทางอารมณ์หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม
References
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
ญาณิศา พึ่งเกตุ. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9 (2), 31 – 45.
ตีรณา พลอยสวัสดิ์ไชย. (2562). การศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมจากความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตหนองจอก. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36 (100), 110 – 125.
นรรธพร จันทร์เฉลี่ย. (2564). ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss). https://www.starfishlabz.com/blog/601-learning-ceo-starfish-education.
นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2561). หน่วยที่ 3 จิตวิทยาเพื่อการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประมวลสาระชุดวิชาแนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประณิตา ทองพันธ์. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 15 (1), 79 - 94.
พรทิพย์ จ่าแก้ว. (2561). การเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. [ออนไลน์], https://so03.tci-thaijo.org › article › download.
โรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี. (2563). รายงานผลตอบรับของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.
โรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี. (2564). การประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมและการเรียนรู้ในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านไผ่ล้อมสามัคคี.
วริษฐา คมขำ. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3(1), 121 - 140.
วิไลวรรณ เพชรเศรษฐ์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.). (2565). https://covid19.nrct.go.th/daily-report-30sep2022/.
เสวิตา แก้วกัณหา. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะ เรื่องต่อพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 21(3), 234 - 242
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตรร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (literacy) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
อรวรรณ ศรีไสยเพชร. (2559). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยสตูล จังหวัดสตูล. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 27 (2), 61 – 68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง