การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนของการเลี้ยงไก่กระดูกดำ ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ประภาพร กิจดำรงธรรม -
  • ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์
  • จิรายุ หาญตระกูล
  • สัตยา ตันจันทร์พงศ์
  • จำเนียร บุญมาก

คำสำคัญ:

ความคุ้มค่าในการลงทุน, ต้นทุน, ผลตอบแทน, ไก่กระดูกดำ, เกษตรกร

บทคัดย่อ

          การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนของการเลี้ยงไก่กระดูกดำของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของเกษตรกรที่เลี้ยงไก่กระดูกดำ รวมถึงศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าในการลงทุนของการเลี้ยงไก่กระดูกดำของเกษตรกรในอำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรจำนวน 300 รายด้วยแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าในการลงทุนของการเลี้ยงไก่กระดูกดำ โดยกำหนดอายุโครงการอยู่ที่ 5 ปีตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์ และอัตราคิดลดไว้ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี

         ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงไก่กระดูกดำมีความสนใจในการยกระดับผลิตภัณฑ์ไก่กระดูกดำให้ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ แต่ยังขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง การทำบัญชีต้นทุน สำหรับต้นทุนในการเลี้ยงไก่กระดูกดำจะใช้ต้นทุนในการลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 264,290 บาท และมีต้นทุนในการดำเนินงานเลี้ยงไก่กระดูกดำเท่ากับ 373,560 บาทต่อปี ในส่วนของผลตอบแทนเกษตรกรจะมีรายได้จากการเลี้ยงไก่กระดูกดำทั้งสิ้น 669,219 บาทต่อปี ซึ่งเมื่อนำต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับมาทำการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 964,374.03 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน (BCR) เท่ากับ 4.65 เท่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 109.07 และระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 0.89 ปี สำหรับการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) ในกรณีที่กระแสเงินสดลดลงและเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 พบว่า การเลี้ยงไก่กระดูกดำมีความคุ้มค่าในการลงทุนในทั้งสองกรณี ดังนั้นสรุปได้ว่าโครงการเลี้ยงไก่กระดูกดำในจังหวัดเชียงใหม่เกิดความคุ้มค่าทางการเงินในการลงุทน

References

จรีวรรณ จันทร์คง และ ณปภัช ช่วยชูหนู. (2564ก). ต้นทุน–ผลตอบแทนและผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 38(3), 86-99.

จรีวรรณ จันทร์คง และ ณปภัช ช่วยชูหนู. (2564ข). ศักยภาพการผลิตและผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ดำเขาหลัก จังหวัดตรัง. วารสารเกษตรพระวรุณ. 18(1), 80-87.

ชลธิชา งิ้วสีดา. (2555). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนเลี้ยงโคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูศักดิ์ ประภาสวัสดิ์, สุเทพ เหลาทอง, อํานวย เลี้ยวธารากุล, ประสิทธิ์ รัตนชวานนท์ และ ชัชวาล ประเสริฐ. (2555). การพัฒนาไก่พื้นเมืองพันธุ์ชีท่าพระเชิงเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองอาชีพเกษตรกรและผู้บริโภค. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย

และนวัตกรรม (สกสว.).

ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์. (2565). เอกสารคำสอนรายวิชา กง 201 การเงินธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2563). อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายคนและสถาบัน. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. https://www.baac.or.th/file-upload-manual/rate/2563/Loan_rate010663.pdf

ปาริชาติ มณีมัย, ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร, ธวัลหทัย เขมะวนิช, โชติรส มะโนใจ และ กุลธิดา อิสระดำเกิง. (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงสุกรขุนของฟาร์มขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีการเลี้ยงสุกรแบบอิสระและแบบรับจ้างเลี้ยงในจังหวัดพัทลุง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(1),

–106.

ผู้จัดการออนไลน์. (2560). เกษตรกรเชียงใหม่ชู “ไก่ประดู่หางดำ” สัตว์เศรษฐกิจสำคัญหลังปีที่แล้วโกยรายได้ 24 ล้าน. https://mgronline.com/local/detail/9600000118804

มงคล คงเสน, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง และพรรณวดี โสพรรณรัตน์. (2562). โมเดลการส่งเสริมการผลิตไก่เบตงเชิงธุรกิจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12(4), 686-703.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2560). ไก่กระดูกดำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. https://hrdi.or.th/Research/articles

สุคีพ ไชยมณี. (2559). ไก่กระดูกดำ. วารสาร สวพส. (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน)). 6(1), 30-31.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ปี 2564. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=11555

Confrey, A. L., and Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Hsieh, P., and Lien, T. (2012). Study of the physico-chemical properties and antioxidant activity of extracted melanins. Journal of Agricultural Science, 4(9), 217-229.

Jaturasitha, S., Srikanchai, T., Kreuzer, M., and Wicke, M. (2008). Differences in carcass and meat characteristics between chicken indigenous to Northern Thailand (Black-Boned and Thai Native) and imported

extensive breeds (Bresse and Rhode Island Red). Poultry Science Journal, 87(1), 160-169.

Miller, S. D., Duncan, B. L., Brown, J., Sparks, J., and Claud, D. (2003). The outcome rating scale: A preliminary study of the reliability, validity, and feasibility of a brief visual analog measure. Journal of

Brief Therapy, 2(2), 91-100.

Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2023