การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้ากระชายขาวสำเร็จรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกร บ้านร้องขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
บรรจุภัณฑ์, ตราสินค้า, กระชายขาวสำเร็จรูปบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้ากระชายขาวสำเร็จรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรบ้านร้องขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) พัฒนาและประเมินความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์และตราสินค้ากระชายขาวสำเร็จรูป เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสนทนากลุ่ม วัตถุประสงค์ที่ 1 มีกลุ่มตัวอย่าง 10 คน และวัตถุประสงค์ที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่าง 10 และ 13 คนตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของบรรจุภัณฑ์เป็นถุงพลาสติกแบบธรรมดา ไม่สวยงาม ตราสินค้าไม่มีเอกลักษณ์ ไม่ทันสมัย ปัญหาที่พบคือ บรรจุภัณฑ์ไม่สวยงาม ตราสินค้าไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ความต้องการของกลุ่มคือ บรรจุภัณฑ์แบบถุงซิปล็อคสีเงิน ตราสินค้าเป็นรูปแบบวงกลมสีเขียว สีส้ม สีฟ้า และสีเหลืองทอง มีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อยู่บนตราสินค้า 2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าได้ทำเป็นถุงซิปล็อคสีเงิน ตราสินค้าเป็นวงกลมสีเหลืองทอง มีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์บนตราสินค้าทั้งหมด ในการประเมินความพึงพอใจมากโดยการออกคะแนนเสียงเป็นบรรจุภัณฑ์แบบถุงซิปล็อคสีเงิน ตราสินค้าเป็นวงกลมสีเหลืองทอง โดยรายละเอียดของสินค้าใส่ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด
References
กันย์ณิภัฐ สุวรรณอ่อน, มณีรัตน์ รัตนพันธ์, ปทุมวรรณ ทองตราชู, ภัทรินทร์ ทางรัตนสุวรรณ, นพดล ชูเศษ, ชุติมา ทัศโร, เขมินต์ธารากรณ์ บัวเพ็ชร, และวิลาลัณย์ ช่วยกลับ. (2562). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวตังไก่หยองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านศาลาพระนาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 (น. 1415-1428). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์, ทัศนาวดี แก้วสนิท, เมธาวี จำเนียร, และกรกฎ จำเนียร. (2564). การพัฒนาขีดความสามารถด้านการตลาดและการสร้างตราสินค้า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ประกอบการในโครงการเมืองสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนักบริหาร, 41(2), 37-50.
ดนุชา พิชยนันท์. (2564, 7 กรกฎาคม). แผนพัฒนาฯ 13 ฉบับยกร่าง 5 เป้าหมายพลิกโฉมเศรษฐกิจไทยใน 5 ปี. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/business/976683
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). การออกแบบการวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์: การออกแบบประชากร กลุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล หน่วยที่ 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาโนชย์ นวลสระ, น้ำเพชร เตปินสาย, และชุติณัฐภูวดล. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานระดับสากล จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 119-134.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564, 7 กรกฏาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570
https://www.ldd.go.th/PDF/DevelopmentPlanNo.13.pdf
อนันต์ สุนทราเมธากุล, ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ, ฐิติพร อุ่นใจ, และวันวิสา มากดี. (2563). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี, 8(1), 1-13.
อัรฮาวี เจ๊ะสะแม, & ยอดนภา เกษเมือง. (2563). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 79-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง