การพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีไทยอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร บ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง Maejo University Phrae Campus
  • เกษราพร ทิราวงศ์
  • วัฒนา วณิชชานนท์
  • นฤพนธ์ เลิศกาญจนาพร
  • พิรานันท์ จันทาพูน

คำสำคัญ:

มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย, เขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร

บทคัดย่อ

          การพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีไทยอย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร บ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพแนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์รองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 2) เพื่อพัฒนาโฮมสเตย์รองรับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) โดยสุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากชุมชนบ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลด้วยการจัดประชุมเสวนา และแบบสอบถาม พบว่า การวิเคราะห์ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวและที่พักโฮมสเตย์ของผู้ให้ข้อมูลบ้านคุกพัฒนา อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุมชนมีศักยภาพด้านโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับที่สามารถพัฒนาคุณภาพได้ ผลการวิจัยได้พัฒนาโฮมสเตย์บ้านคุกพัฒนา จำนวน 14 หลังคาเรือน นอกจากนี้ได้ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์บ้านคุกพัฒนา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง พบว่า มีระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการท่องเที่ยวและโฮมสเตย์บ้านคุกพัฒนา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.96

          จากผลการวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานโฮมสเตย์ควรทำงานร่วมกับชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากมีความเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและรายการนำเที่ยวร่วมกัน  การให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความสะอาดของบ้านพักโฮมสเตย์ ควรนำอาหารพื้นบ้านมาเป็นรายการอาหารเฉพาะถิ่น มีความโดดเด่นด้วยการสื่อความหมายคุณค่าภูมิปัญญา เพิ่มทักษะการสื่อสาร ออนไลน์และให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ อีกทั้งการอนุรักษ์ภาษาถิ่นและเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ สำหรับการพัฒนาโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวสู่สากล

References

จิราวรรณ สมหวัง. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวชุมชน: กรณีศึกษาบ้านวังขรณ์ หมู่ 11 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มร.ชร., 14(2) 58-72. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/245096/169751

ชุติมันต์ สะสอง, สัญญา สะสอง และอารีย์ บินประทาน. (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มจ., 3(1) 75-86. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/ 249522/169479

ปวีณา งามประภาสม. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวบ้านเมาะหลวง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มรภ.สร., 22(2) 115-126. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/ view/ 247926/168898

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2563). ปัญหาและศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน ของบ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารพัฒนศาสตร์, มธ., 3(1) 40-67. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/ 246035/167373

วิภวานี เผือกบัวขาว. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มรภ.ศก., 4(1) 58-72. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/ view/1072/743

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 27-36.

สุทธิสินี ถิระธรรมสรณ์. (2563). รูปแบบคุณลักษณะโฮมสเตย์ การรับรู้คุณค่าด้านราคา การรับรู้คุณค่าด้านอารมณ์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้รับบริการโฮมสเตย์ในเขตภาคเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มรภ.ลป., 9(1) 86-98. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/240222/166106

อัจฉรา เมฆสุวรรณ, ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช และเนตรดาว โทธรัตน์. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะโฮมสเตย์ของการท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มจ., 3(2) 106-122. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/241104/165682

อำนาจ รักษาพล, เบญจมาศ ณ ทองแก้ว และอุทัยวรรณ ศรีวิชัย. (2563). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร. วารสารการจัดการธุรกิจ มบ., 9(1) 50-70. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ BJBM/article/view/218443/164452

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Soedarwo, V. S., Fuadiputra, I. R., Bustami, M. R., & Gautam Kumar Jha, G. K. (2022). Participatory Action Research (PAR) Model for Developing A Tourism Village in Indonesia. Journal of Local Government Issues(LOGOS), 5(2) 193-206. https://ejournal.umm.ac.id/index.php/LOGOS/article/view/21279/11314

Tatom kaoupdate. (2021). อพท. ดันสุโขทัยติดลมบนเมืองท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. https://kaoupdate.com/2021/03/12/dasta-sukhothai/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023