การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • สุวนันท์ เขียวเพชร
  • ขวัญเพชร ไสยันต์
  • ยุทธพงษ์ นาคโสภณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์, ค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย 2) เพื่อนำไปทดลองสอนและหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม จังหวัดเลย จำนวน 161 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากห้องเรียนที่มีแผนการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 25 คน  

การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยขั้นตอนที่ 1 เป็นการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก นำไปเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ในการประเมินหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) ขั้นตอนที่ 2 นำไปทดลองสอน โดยหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (E1/E2)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active Learning ด้วยกิจกรรมการประดิษฐ์กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก ได้จัดทำแผนการเรียนรู้ แบบทดสอบระหว่างเรียน 1, 2 และข้อสอบหลังเรียน ทำการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ การสอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.95 มีความสอดคล้องกับค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 - 1.00 ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงใช้ได้
  2. การหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้ามจำนวน 25 คน จากคะแนนของแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน มีประสิทธิภาพที่ 75.2/79.6 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ดังนั้นสื่อนวัตกรรมกระถางต้นไม้แก้มลิงจากขวดพลาสติกที่สร้างขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้ในการสอนในโรงเรียนได้

References

กาญจนา นิลนวล. (2559). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. https://www.gotoknow.org/posts/602149

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. หน่วยศึกษานิเทศก์ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ประภาพรรณ เส็งวงศ์. (2551). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัยในชั้นเรียน (2 ed.). อี. เค. บุ๊คส์.

พรศิริ สังข์ทอง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทํางานเป็นทีมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 สําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการมทร.สุวรรณภูมิ, 3(1), 14 - 29.

มนตรี สังข์ทอง. (2563). การทดสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้: แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. วารสารศึกษาศาสตร์, 43(1), 1-13.

Bonwell, Charles C., & James A. Eison. (1991). “Active Learning: Creating excitement in the classroom”. http://eric.ed.gov/?id=ED336049

M.R., L. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research Journal, 35(6), 382 - 385.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023