การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ธิติสุดา สุวรรณหงษ์ -
  • ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชิงคำนวณ, กิจกรรมการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

          ทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย เป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องการในโลกศตวรรษที่ 21 โดยจะส่งเสริมทักษะผ่านกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมหลักประจำวันที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยนั้นเกิดทักษะการอ่าน - เขียน ทักษะการวางแผน ทักษะการคิดแบบสร้างสรรค ทักษะการมีเหตุผล และทักษะการตัดสินใจ ผ่านการจัดกิจกรรมการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ กิจกรรม Sorting, เกมฝึกลำดับเรื่องราว, เกมบัตรคำสั่ง และเกมต่อเลโก้ ซึ่งจะใช้ในรูปแบบการเล่นและกิจกรรมประจำวัน เช่น กิจกรรมเกม นิทาน ท การเคลื่อนไหว บทเพลง เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และการทำงานอย่างเป็นระบบดีขึ้นด้วยตนเอง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรอบรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับอนุบาล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา โสภณพนิช. (2562). นโยบายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาคนสู่ศตวรรษที่ 21. https://www.matichon.co.th/education/news_1619020

เขมวดี พงศานนท์. (2562). Coding คืออะไร. https://thepotential.org/2019/10/07/coding-in-school-scoop.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). เกมการเรียนรู้แบบ Unplug. https://www.scimath.org/article-technology/item/10631-unplug

แปลน ฟอร์ คิดส์. (2564). มาทำความรู้จัก Coding กัน. https://www.planforkids.com/kids_corner/coding-preschool

ภูมิปรินทร์ มะโน. (2562). สอน CODING อย่างไรให้ง่าย สนุกเหมือนสนามเด็กเล่น. https://thepotential.org/2019/10/08/coding-from-coder-poomparin/

ยืน ภู่วรวรรณ. (2562). โค้ดดิ้ง. https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000116/6-yut/Plan/63_3.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีวรรณ ไชยกาญจน์, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และอรพรรณ บุตรกตัญญู. (2565). ผลของการจัดกิจกรรมเกม ดนตรี และเคลื่อนไหวผสาน Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมการคิดเชิง คำนวณของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน. 4(2), 123-137.

Code kids. (2562). เรียนเก่งอย่างเดียวเจ๋งไม่เท่าคิดเป็น Computational Thinking. https://www.codekids.co/youth/thinking-ascomputational-thinking/

Joohi Lee, Jo Junoh, (2019). Implementing Unplugged Coding Activities in Early Childhood Classrooms. Early Childhood Education Journal. 47:709–716.

Kim, D. (2019). Concept and strategy of unplugged coding for young children based on computing thinking. The Journal of the Convergence on Culture Technology (JCCT), 5(1), 297-303.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023