รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยว, เกษตรอินทรีย์, การจัดการแหล่งท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น 2) เพื่อประเมินการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ทั้งหมด 63 คน ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน จากการศึกษาพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้นภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยรวม 2.30 โดยมีทรัพยากรทางการเกษตรอินทรีย์มีศักยภาพมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 ส่วนการตลาดเกษตรอินทรีย์ การบริการท่องเที่ยว การรองรับของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวม 3.70 โดยมีด้านสิ่งดึงดูดใจมีความสำคัญต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.30 ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ด้านความสะดวกในการเดินทาง ด้านการบริการที่พัก อยู่ในระดับมาก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง กำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น พบว่า 1) กำหนดการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อย่างเหมาะสม 2) กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกับทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยว 3) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ให้สอดคล้องกับทรัพยากรในทุกฤดูการผลิต โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น 1) พัฒนาด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ ด้านการบริการท่องเที่ยว ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 2) การจัดการด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านความสะดวกในการเดินทาง และด้านที่พักเป็นปัจจัยสำคัญที่นําไปสู่การมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). คู่มือประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. https://www.dot.go.th/ebooks/ebooks-view/422.
กรมการท่องเที่ยว. (2556). ความหมายและความสำคัญการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. https://www.dot.go.th/storage/ebooks/January2019/AlzAxoKlnGGUUEh9JE36.pdf
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). กรมส่งเสริมการเกษตรเดินหน้ายกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยยุค New Normal. https://doaenews.doae.go.th/archives/10146.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของคนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์. (2565). Organic Tourism – Driving organic food system by conscious hospitality businesses. https://www.chula.ac.th/news/59073/.
ชนะ ศรีสุทธะ. (2561). การวิเคราะห์รูปแบบความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นำชัย ทนุผล. (2540). วิธีการเตรียมโครงการวิจัย. เชียงใหม่: สาขาวิชาการบริหารพัฒนา. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, หน้า 71.
นิภา ศรีไพโรจน์. (2531). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ศึกษาพร จำกัด.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์.
ภณสิทธ์ อ้นยะ. (2020). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยกระบวนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, พฤษภาคม - สิงหาคม 2020, หน้า 45-54.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด. (2565). ร่างแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 - 2570. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย.
หทัยชนก รัตนถาวรกิติ และคณะ. (2023). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวขุนจง ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์, วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, มกราคม-เมษายน 2023, หน้า 1-16.
อรุษ นวราช. (2563). สามพรานโมเดลสู่การขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในไทย. พระสยาม MAGAZINE, พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563, หน้า 44 - 47.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Sydney: Hodder Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง