การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และสังคมที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน

ผู้แต่ง

  • เพียรใจ โพธิ์ถาวร
  • พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์ University

คำสำคัญ:

ผู้สูงวัย, รูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่าย, ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน 2) ศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์และปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายระหว่างผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านประชากรศาสตร์จำนวน 12 ด้าน และปัจจัยด้านสังคมจำนวน 3 ด้าน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 400 คน แบ่งเป็นผู้สูงวัยชาวไทย 200 คน ที่อาศัยในประเทศไทย และผู้สูงวัยชาวจีน 200 คน ที่อาศัยในประเทศจีนใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression) เพื่อพยากรณ์และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีน

          จากการศึกษาพบว่าผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีนมีพฤติกรรมการใช้จ่ายใกล้เคียงกัน คือ มีการใช้จ่าย 4 ประเภท ใน 5 อันดับแรกเหมือนกัน คือ ค่าอาหาร/เครื่องดื่ม ค่าเงินออม ค่าเงินลงทุน และค่าท่องเที่ยว/บันเทิง สำหรับการศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายพบว่าระดับรายได้ต่อเดือนส่งผลเชิงบวกต่อค่าใช้จ่ายเกือบทุกประเภท ยกเว้นค่าเล่าเรียนที่ปัจจัยด้านรายได้ไม่ส่งผลทั้งผู้สูงวัยชาวไทยและชาวจีนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านสังคมมีเพียงปัจจัยเดียว คือด้านทัศนคติที่ส่งผลเชิงลบต่อรูปแบบพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงวัยเฉพาะชาวจีนในด้านค่าอาหาร/เครื่องดื่ม และด้านค่ารักษาพยาบาล/ยา ผลการวิจัยนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้สูงวัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). สถานการณ์ผู้สูงวัยไทย พ.ศ. 2565. บริษัทอัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

กรมสุขภาพจิต. (2566). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2566. กระทรวงสาธารณสุข. https://dmh.go.th/report/dmh/rpt_year.

กานต์พิชชา กองคนขวา. (2561). พฤติกรรมทางการเงินของผู้สูงวัยในจังหวัดพะเยา. วารสารบริหารธุรกิจและภาษา. 6(1). 24-30.

กุลภรณ์ อันนานนท์. (2566). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลต่อสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครัวเรือนไทยอย่างไร? ใน จิรากร ยิ่งไพบลูย์วงศ์ (บ.ก.), รายงานทีดีอาร์ไอ(TDRI). https://tdri.or.th/2023/06/how-does-entering-an-aging-society-affect-the-social-economic-health-and-medical-expenses-of-thai-households/.

จินตนา สินธุสุวรรณ, เพ็ญโพยม เชยสมบัติ และตุลนาฒ ทวนธง. (2567). พฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ตําบลเชียงทอง อําเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. Journal of MCU Phetchaburi Review, 7(1), 408 – 424. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/274890.

บริษัท Urban Creature จำกัด. (2566). เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด. https://urbancreature.co/aged-society/.

วราวุฒิ เรือนคำ และสุพรรณิการ์ ขวัญเมือง. (2563). พฤติกรรมและปัจจัยต่อการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงวัยในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 7(2), 39-56.

วสวัตติ์ สุติญญามณี, ชยินทร์ธร ธาดาดุสิตา และเดือนเด่น วิมลพันธุ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงวัยไทย ในเขตภาคเหนือ. การประชุมวิชาการระดับชาติศิลปศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 2. (1-10). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ศุจินธร ทรงสิทธิเดช, กฤตยา วงษ์เมือง, สโรชา ศรีสุภะ และชัชพงศ์ แย่งเพ็ขร. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจเพื่อการท่องเที่ยวของผู้สูงวัยในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม, 3(3), 241-252.

อภิชญา สุขวรรณ. (2562). ความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงวัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอวินันท์ สะอาดดี. (2559). ทัศนคติและความสนใจที่มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้สูงวัยผ่าน Mobile Application. การศึกษาอิสระปริญญาโท.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chai, A., Rohde, N. & Silber, J. (2013). Measuring the Diversity of Household Spending Patterns. Griffith Research Online. Griffith University.

Dwi Tama, T., Herya Ulfa, N., & Hapsari, A. (2020). Who Spends More on Health Expenditures among Elderly? Men or Women? KnE Social Sciences, 4(10), 154–160. https://doi.org/10.18502/kss.v4i10.740.

Ma, Y. C. (2024). 热词里的中国活力丨这个市场有多大?数据带你看老年人“新消费. http://www.xinhuanet.com/food/20240201/38a624eb50a646a7a21dd660 1354a4be/c.html.

Population Reference Bureau. (2023). 2023 World Population Data Sheet.

Roscoe. (1969). อ้างในกัญญ์สิริ จันทร์เจริญ (2556). การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพลักษณ์. pp.156-157

Survey office of the National Bureau of Statistics in Zhongshan. (2024). 老年群体消费呈现明显特点推动银发经济需多方施策. https://gdzd.stats.gov.cn/zsdcd/zs_dcfx/202402/t20240227_181839.html.

Tanyi, P. L., André, P., Mbah, P. & Tong, K. wai. (2018). Care of the elderly in Nigeria: Implications for policy. Cogent Social Sciences, 4(1). 1-14.

United Nation. (2020). Operational definition of older person. https://www.migrationdataportal.org/themes/older-persons-and-migration#:~:text=Operational%20definition%20of%20older%20person,(UN%20DESA%2C%202020).

U.S. Bureau of Labor Statistics. (2021). Age of reference person: Annual expenditure means, shares, standard errors, and coefficients of variation, Consumer Expenditure Surveys.

Wolf, M., Kleindienst, M., Ramsauer, C., Zierler, C. & Winter, E. (2018). Current and future industrial challenges: demographic change and measures for elderly workers in industry 4.0. Annals of the Faculty of Engineering Hunedoara, 16(1), 67-76.

Zhao, J. G. & Li, J. (2023). Analysis of the Consumption Boosting Effect of “Concurrent Social Interaction” in the New Generation of Elderly Groups. Journal of Zhejiang Gongshang University, 3. 143-160. doi: 10.14134/j.cnki.cn33-1337/c.2023.03.013.

Zhang, Y. (2024). The Heterogeneous Impact of Changes in the Age Structure of China’s Elderly Population on Regional Economic Development. Applied Mathematics and Nonlinear Sciences, 9(1). https://doi.org/10.2478/amns-2024-0690.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024