การสอนอ่านออกเสียงและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร 9
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่านออกเสียง, การเขียนคำ, มาตราตัวสะกด, นักเรียนชาวไทยภูเขา, Reading Skill, Writing, Achierement, Spelling by using, Drill, Hill tribe studentsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง และ
การเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ สำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร 9 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านออกเสียง และการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ ของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหา จักร 9 จำนวน 18 คน ช้เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง และการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ สำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไลออนส์มหาจักร 9 จำนวน
3 ชุด ในแต่ละชุดมี 10 แบบฝึก 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอ่านออกเสียง และการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ ซึ่งเป็นแบบทดสอบเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อและแบบทดสอบภาคปฏิบัติให้นักเรียน
อ่านออกเสียงและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ จำนวน 40 คำ แยกเป็นอ่านออกเสียง และเขียนตัวสะกดตามคำบอก ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะด้านการอ่านออกเสียงและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ สำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไลออนส์มหาจักร 9 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.59/84.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านออกเสียง และการเขียนคำในมาตราตัวสะกด แม่กก แม่กด แม่กบ ของนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไลออนส์มหาจักร 9 หลังการใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะโดยมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้แบบฝึกทักษะเท่ากับ 18.22
คิดเป็นร้อยละ 45.55 และหลังการใช้แบบฝึกทักษะเท่ากับ 33.83 คิดเป็นร้อยละ 84.57
Abstract
The aims of the research are to design and evaluate the effectiveness of pronunciation and writing drills for words with Kok, Kod and Kob spelling for Prathomsuksa 3 hill-tribe students at Lion Mahajak 9 Border Patrol Police School located at Moo 7, T. Geud Chang, A. Mae Tang, Chiang Mai, Thailand via the standard 80/80 criteria and
to determine the students’ pronunciation and writing proficiency concerning words with Kok, Kod and Kob spelling both prior to and after employing the drills developed. Eighteen P. 3 students from Lion Mahajak 9 Border Patrol Police School were selected as the subjects of the research. Three pronunciation and writing practices for words with Kok, Kod and Kob spelling were administered to the students. Each practice composed of ten exercises and learning achievements to assess both pronunciation and writing skills for words with Kok, Kod, and Kob spelling which consisted of forty multiple-choice questions and practical tests to gauge students’ pronunciation and spelling abilities for forty words with Kok, Kod, and Kob spelling. The practical tests included both pronunciation and dictation exercises. The results of
this study are as follows.
1. The effectiveness of pronunciation and writing drills for words with Kok, Kod, and Kob spelling designed for P.3 students of Lion Mahajak 9 Border Patrol Police School in overall equals to 82.59/84.57 which is higher than
the expected 80/80 criteria.
2.The post-learning achievements indicated better pronunciation and writing achievements among the P.3
hill-tribe students of Lion Mahajak 9 Border Patrol Police School for words with Kok, Kod, and Kob spelling than
the pre-learning achievements. The learning achievements findings included 18.22 or 45.55% for pre-learning achievements and 33.83 or 84.57% for post-learning achievements.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง