แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษา ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง
คำสำคัญ:
พุทธิพิสัย, การจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษา, การจ, ความเข้าใจ, การปรับใช้, การวิเคราะห์, การประเมินและการสร้างสรรค์, cognitive domain, educational objectives, remembering, understanding, applying, analyzingบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยฉบับปรับปรุง เริ่มต้นจากปี 1956 บลูมและคณะได้เขียนตำรา การจัดจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยขึ้น ตำราดังกล่าวมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ต่ำกว่า22 ภาษา ต่อมาในปี 2001 ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง นำโดยแอนเดอร์สัน ได้พัฒนาแก้ไขตำราดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนเห็นว่า ตำราเล่มใหม่ที่จัดทำขึ้นมีข้อความรู้หลายประการที่นักวัดผลประเมินผลและคนเป็นครูควรได้อ่าน จึงได้เรียบเรียงเผยแพร่เป็นภาษาไทย สาระในตำราที่มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปคือมีการแบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยออกเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนที่หนึ่งได้แก่พฤติกรรมการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็น 6 ลำดับขั้น คือการจำ ความเข้าใจ การปรับใช้ การวิเคราะห์ การประเมิน และการสร้างสรรค์
ส่วนที่สอง ได้แก่ข้อความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ซึ่งได้มีการจัดแบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้น คือ ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์ ความรู้ที่เป็นกระบวนการขั้นตอน ความรู้ในส่วนของการหยั่งรู้ถึงวิธีคิดของตนเอง
สาระในบทความได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้ และลักษณะของความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
Abstract
This article presented the knowledge from Taxonomy of Education Objectives; Cognitive Domain : Revision Edition. In the year 1956; Bloom and his teams wrote the original text; Taxonomy of Educational Objectices : Cognitive omain; which was well known and was translated into at least 22 other languages. In 2001 Anderson and his teams revised the text and the new one was written. The writer wanted to distributed the knowledge from the new text to Thai measurement specialists; educational evaluators and teachers; so the main concepts in the article was written. The Educational Objectives : Cognitive Domain in the new text was divided into 2 parts :
Part 1. Thinking Behavior for learning was divided into 6 steps which were remembering; understanding; applying; analyzing ; evaluating; and creating.
Part 2. the knowledge for learning was divided into 4 steps which were factual knowledge; conceptual knowledge; procedural knowledge and metacognitive knowledge.
The details of various concepts in both parts which examples was explained in this article.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง