การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35
คำสำคัญ:
การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา, สภาพการบริหารงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์, the management of strategic performance based budgeting, the state of budgeting managementบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ตามมาตรฐานการเงิน 7 ด้าน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า แบบสอบถามปลายเปิด และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานงบประมาณของสถานศึกษา จำนวน 153 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา โดยรวมมี
การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย คือ การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ การวางแผนงบประมาณ การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน และการตรวจสอบภายใน การบริหารสินทรัพย์และการคำนวณต้นทุนผลผลิต
ปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา คือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจความชำนาญด้านงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ การดำเนินงานไม่เป็นระบบ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ระบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศไม่เป็นปัจจุบัน และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา สถานศึกษามีการหารายได้และให้บริการจากสินทรัพย์น้อย ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา คือ ประชุมชี้แจงหรืออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับตามมาตรฐานการเงินทั้ง 7 ด้าน จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ และระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน
แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา คือ กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างและพัฒนาเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนัก ให้เห็นความสำคัญของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
Abstract
This research was aimed to discover the state of the management of strategic performance based budgeting (SPBB) including the problems and the solutions in the school attached to the office of secondary educational service area 35. The studied sample consisted of 153 school administrators and the budgeting section heads. The needed data were collected by using the set of questionnaire and focus group discussion. The data were analyzed through the application of frequency; percentage; mean; standard deviation; and content analysis.
The research results revealed that the state of budgeting management was rated at high level; as a whole. Considering the mean score of each hurdle; financial management; budget control; planning; procubment management; financial and performance reporting; internal audit; asset management; and output specification and costing were in descending order.
As regards the problems; the lack of expertise personals for SPBB; the unsystematic operation; inadequate of data and information; inappropriate of the budget for SPBB operation were found. For the ways to solve the problems; the meeting and training for 7 hurdles of SPBB operation should be provided; the handbook for SPBB operation should be prepared; and the fund raising activities should be encouraged.
Considering’s the SPBB operation improvement; the standard of SPBB operation should be set up; the data and information system should be improved; the participation of all concerned sectors should be promoted; the SPBB network should be encouraged; and the understanding on SPBB of school personals should be educated.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง