การประเมินกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวาก ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พิษณุพงศ์ สันทราย
  • ธนวิทย์ บุตรอุดม

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพ, CIPP Model, การประเมิน, quality assurance, CIPP model, assessment

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       การศึกษาเรื่องการประเมินกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวาก ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อประเมินกระบวนการงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวาก ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  2)เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการงานประกันคุณภาพของโรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวาก  ตำบลแม่กา  อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา การศึกษาครั้งนี้ เน้นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดย แบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่  1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 2) กลุ่มประชากร จำนวน 26 คน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (context) พบว่า โรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวาก    มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เป็นแนวทางดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของให้โรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวากมีประสิทธิภาพ    

            ด้านปัจจัยนำเข้า (input)พบว่า ผู้บริหารมีความจริงจังที่สนับสนุน เสนอแนะ วิธีแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา มีการประชุมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกฝ่าย มีการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่ปฏิบัติงานในการจัดทำแผนพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา มีการจัดสรรอัตรากำลังสำหรับปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพโดยให้ความสำคัญในการสรรหา คัดเลือก บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีการสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนอุปกรณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ อย่างพอเพียง มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานข้อมูลที่ดี รองรับการประมวลผล                

           ด้านกระบวนการ (process)โรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาบ้านโทกหวาก มีขั้นตอนการเตรียมการตามคู่มือหรือวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตามสำนักงานรองรับมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา  การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมีการจัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดมาตรฐานการศึกษาจากทุกหน่วยงาน จัดทำระบบและกลไก การประกันคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงานให้สอดคล้องกับระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน     

           ด้านผลผลิต (product) โรงเรียนอนุบาลมีความพร้อมในการรับการประเมินจากหน่วยงานคณะกรรมการการประเมินคุณภาพการศึกษา มีการนำผลที่ได้จากการประเมินนำไปปรับปรุงกระบวนการประเมิน และคะแนนที่ได้รับจากการประเมินได้นำมาใช้ในกาพัฒนา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ตามมาตรฐานที่กำหนด ปัญหาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา คือ ข้อมูล KPI บางตัวการจัดเก็บเป็นไปได้ยากและเสียเวลาในการหาข้อมูล บุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา บุคลากรในองค์กรไม่มีส่วนร่วม ปัญหาในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานที่บางหน่วยงานยังไม่สามารถจัดเก็บให้เป็นระบบทำให้การดึงข้อมูลต้องใช้เวลามาก แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ผู้บริหารต้องนำผลการประเมินมาใช้ให้เป็นรูปธรรม และชี้แจงให้กับบุคลากรทราบ และหน่วยงานควรปรับปรุงระบบสารสนเทศให้ทันสมัยมากขึ้น 

Abstract

The study titled “Assessment of educational quality assurance process of Anuban Mueang Phayao Ban Thokwark School (AMPBTS), Maekaa sub-district, Mueang Phayao district, Phayao province” had the objectives to 1) assess the educational quality assurance process of AMPBTS, Maekaa sub-district, Mueang Phayao district, Phayao province and 2) to study guidelines to solve problems and barriers of the educational quality assuance of AMPBTS, Maekaa sub-district, Mueang Phayao district, Phayao province.

This study emphasized the qualitative study by dividing the respondents into two groups: 1) the main respondents and 2) the population totaled 26 persons.  The findings were :

For Context: it was found that the AMPBTS used the National Education Act B.E. 2542 (A.D. 1999) as its guideline for the educational quality assurance process that made the AMPBTS efficient.

For Input: it was found that the executives were serious in supporting and suggesting how to solve problems concerning the educational assurance.  There were meetings to find ways to solve problems with all concerned parties, preparations for the personnel working in the making of developmental plans for educational assurance, allocation of staff to work on the educational assurance emphasizing on the recruitment and selection of personnel with knowledge and abilities with supporting budgets and sufficient supports for equipment and various audio-visual equipment with information technological system and good database system to support the assessment.

For Process: The AMPBTS had preparation steps according to the manual or school educational assurance method of the Office of Educational Quality Certification and Assessment.
The school had an educational assurance planning, making educational standard indicators from
every department and making the educational assurance mechanic and system within every department in accord with the school’s educational assurance mechanic and system.   

For Product:  The AMPBTS was ready to be assessed by the educational assurance committee.  It used the results from the assessment to improve the assessment process and used
the assessed scores to improve according to the specified objectives and standards.

The problems of educational assurance system development were: some of the KPIs were difficult of collect and wasted time in the data collection; most personnel did not realize the importance of educational assurance; the personnel in the organization had no part in the process and the data collection problem of some departments that could not store the data systematically so it took a long time to retrieve.

Recommendations for solving the problems require the executives to use the results of the assessment concretely and inform the personnel while the departments should modernize the information system.

Author Biographies

พิษณุพงศ์ สันทราย

นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ธนวิทย์ บุตรอุดม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Downloads