ผลการใช้แบบบันทึกความดีในการปลูกจิตสำนึกเชิงจริยธรรมด้านความเคารพของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษารองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คำสำคัญ:
จิตสำนึกเชิงจริยธรรม, พฤติกรรมเชิงจริยธรรม, ความเคารพ, Ethical Consciousness, Respectful Behaviors, Respect.บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับจิตสำนึกเชิงจริยธรรมด้านความเคารพระหว่างก่อน และหลังใช้แบบบันทึกความดี และศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แบบบันทึกความดีของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพิงครัตน์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแบบบันทึกความดี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสังเกตพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความเคารพ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้แบบบันทึกความดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) และการสะท้อนความรู้สึก ของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่าระดับจิตสำนึกเชิงจริยธรรม ด้านความเคารพหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากต่อการใช้แบบบันทึกความดี
Abstract
The objectives of this research were to study the effects of recording daily positive qualities in other people in order to instill ethical consciousness of primary students at Pingkarattana school; Chiang Mai province. 42 primary students were selected to comprise a sample group for the second semester; 2556 E.E. The research was implemented with an experimental design; and its purpose was for students to record the daily positive qualities observed in other people. The research instruments employed were used in order to gather data of regular observed behaviors as well as the level of satisfaction. The data was statistically analyzed by Frequency; Percentage; Mean; Standard deviation; t - test and After Action Review (AAR).
The research results were represented after recording of daily positive qualities in other people. There was a significant increase in the students’ ethical behaviors at a statistical level of .05 and respect for other people. In addition; the respondents had shown high level of satisfaction.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง