ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ในการใช้พาณิชย์สังคมของธุรกิจผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สิริพาพร ยืนสุข
  • จีระนันต์ เจริญรัตน์ Sakon Nakhon Rajabhat University
  • เด่นชัย สมปอง

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, พาณิชย์สังคม, ผ้าย้อมคราม, แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการใช้พาณิชย์สังคมของธุรกิจผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลความสำเร็จในการใช้พาณิชย์สังคมของธุรกิจผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนคร โดยใช้แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการธุรกิจผ้าย้อมครามจังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ตามสัดส่วนอำเภอของจังหวัดสกลนคร 18 อำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 640 คน

          ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคือ χ2=1178.361, df=246, χ2/df=4.79, P-value=.175, CFI=.971, TLI=.959, RMSEA=.030, SRMR =.041 และผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อม พบว่าปัจจัยแฝงความคาดหวังถึงประสิทธิภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน ความคาดหวังในความพยายามการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้  ปัจจัยแฝงอิทธิพลของสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้ ปัจจัยแฝงสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้งาน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

จิรภัทร เริ่มศรี และจันทิมา เขียวแก้ว. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมคราม สกลนคร.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 178-190. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/224731.

ชาติชัย อุดมกิจมงคล, พิสดาร แสนชาติ, สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และสามารถ อัยกร. (2565). การบูรณาการของห่วงโซ่คุณค่าครามสกลนคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16(2), 84-100. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/260706.

พณีพรรณ สมบัติ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้งานนวัตกรรมบริการแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(1), 142-160. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/issue/download/16851/4344.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัล. (2564). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2564. https://www.etda.or.th/th/Useful- Resource/publications/ValueThailand2021.aspx.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร. (2565). ผ้าย้อมครามสกลนคร. https://online.pubhtml5.com/eree/fmyd/#p=1.

สำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). ฐานข้อมูล หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์.https://cep.cdd.go.th/เกี่ยวกับ-otop/ข้อมูลทั่วไปotop.

สุนทรพจน์ ดำรงค์พาณิชย์. (2563). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

Alaa, M. Momani. (2022). A Modified Technology Acceptance Theory to Assess Social Commerce Technology Adoption. Information Resources Management Journal, 34(2), 43-62. https://research.skylineuniversity.ac.ae/id/eprint/68/1/6.pdf

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education International.

Lindeman, R. H., Merenda, P. F. & Gold, R. Z. (1980). Introduction to bivariateand multivariate analysis. Glenview, IL: Scott, Foresman, and Company.

OZLEM EFILOGLU KURT and Tuğrul aktas. (2023). Factors Affecting Social Commerce Intention: An Emprical study on Social Media Platforms. Prizren Social Science Journal, 7(2), 62-74.https://www.prizrenjournal.com/index.php/PSSJ/article/view/444/197.

Pushp, P., Kuttimani, T., Nripendra, P. R. & Vishnupriya, R. (2020). Understanding consumer adoption of mobile payment in India: Extending Meta-UTAUT model with personal innovativeness, anxiety, trust, and grievance redressal. International Journal of Information Management. 54(2020), 1-16. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2020.102144.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B. & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 27(3), 425–478. https://doi.org/10.2307/30036540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2024