ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ของความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา 4) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 วิจัยเชิงผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 327 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.98 สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) การทำงานเป็นทีมของครู พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าประสิทธิภาพในการทำนายการทำงานเป็นทีมของครู เท่ากับ .857 และที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ .854 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ .159 โดยมีสมการวิเคราะห์การถดถอยได้
สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ
= 0.397 + 0.339 (X6) + 0.222 (X5) + 0.193 (X4) + 0.089 (X1)
สมการถดถอยในรูปคะแนน มาตรฐาน
= 0.371 (z6) + 0.226 (z5) + 0.217 + (z4) + 0.097 (z1)
4) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรควรพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การจัดทำนโยบาย การอบรม และสัมมนาจะทำให้การทำงานเป็นทีมของครูมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกนก วงศ์กัลยา. (2566). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปวีณา บุศยรัตน์. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณ.
รอดีมะห์ ยีเจ๊ะสะมะ. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สุทัตตา ภักดีเรือง. (2566). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนบ้านคลองวาฬ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรกช ไมตรี. (2564). กระบวนการพัฒนาแบบบันทึกอารมณ์เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของครูในระดับชั้นมัธยมศึกษา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุพล สนมศรี. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศ องค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.