พุทธวิธีบริหาร : แนวทางการบริหารในองค์กร

Main Article Content

ทัศนีย์ เนื่องดัด
พระเฉลย อิ้มทับ

บทคัดย่อ

การบริหารในองค์กร สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่จะทำให้ได้มาซึ่งทรัพยากรด้านอื่นๆ เป้าหมายสูงสุดขององค์กร คือ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของภารงานตามอำนาจหน้าที่ ดังนั้นองค์กรจึงต้องรักษาทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ ปัจจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานในองค์กร คือ ผู้บริหาร บทความนี้ได้นำเสนอหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นแนวทางในการบริหารในองค์กร คือ หลักพรหมวิหาร 4 ผู้บริหารที่มีพรหมวิหารธรรมย่อมมีความปรารถนาในความเจริญรุ่งเรือง เอื้อเฟื่อ เผื่อแผ่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน กรุณาและสงสารปรารถนาจะให้ทุกคนพ้นทุกข์ ยินดีมีมุทิตาจิตในความสุขความเจริญของทุกคน และมีอุเบกขาด้วยการวางใจเป็นกลาง เที่ยงตรง หลักสังคหะวัตถุ 4 การอยู่ร่วมกันอย่าสันติ และหลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นทางแห่งการนำมาซึ่งความสำเร็จของกิจการงาน

Article Details

How to Cite
เนื่องดัด ท., & อิ้มทับ พ. (2025). พุทธวิธีบริหาร : แนวทางการบริหารในองค์กร. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 9(1), 296–303. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/a-a022
บท
บทความวิชาการ

References

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเพียร ปุญฺญวิริโย. (2539). แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2551). คนสำราญ งานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์.