การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะนักศึกษาครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

เอกลักษณ์ เพียสา
อำพร ดัชถุยาวัตร์
ปวีณา อุ่นลี
ลดาวัลย์ มะลิไทย
สิรินทร์ ปัญญาคม
พรพิมล ศิวินา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะนักศึกษาครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบคุณลักษณะนักศึกษาครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก การศึกษาองค์ประกอบ ระยะที่สอง การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 420 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .28 – .73 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ


          ผลการวิจัยพบว่า


          1) องค์ประกอบคุณลักษณะนักศึกษาครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มี 10 องค์ประกอบ และ 2) โมเดลโครงสร้างองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 0.92 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 11 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.99 ค่า RMSEA = 0.00 ค่า GFI = 1.00 ค่า AGFI = 1.00 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ความเป็นผู้นำ มีความสำคัญสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ความอดทนและสู้งาน ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม การสื่อสารที่ดี ความสามารถในการปรับตัว บุคลิกภาพดี การมีคุณธรรมจริยธรรม ใฝ่หาความรู้ และความมีจิตวิญญาณครู ทั้ง 10 องค์ประกอบสามารถอธิบายคุณลักษณะนักศึกษาครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้ร้อยละ 46, 43, 41, 41, 40, 39, 37, 34, 33 และ 33 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เพียสา เ., ดัชถุยาวัตร์ อ., อุ่นลี ป., มะลิไทย ล., ปัญญาคม ส., & ศิวินา พ. (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะนักศึกษาครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 7(2), 16–29. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/A-02
บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผน, สำนักงานอธิการบดี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2565). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล. https://plan.snru.ac.th/topics/17722. [พฤศจิกายน 2565].

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2565). สารสนเทศคณะครุศาสตร์ : จำนวนนักศึกษาคณะครุศาสตร์.[ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล. https://edu.snru.ac.th/topics/5789. [พฤศจิกายน 2565].

จันทร์เพ็ญทองดี กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และสุวิมล ติรกานันท์. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดีในทัศนะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 12(1), 1-12.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประภัสสร ไชยชนะใหญ่ และวุฒิภัทร มูลศรี. (2562). บทบาทครู : การพัฒนาการเรียนรูภายใตสังคมแหงการเปลี่ยนแปลง. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(1), 41-50.

ภัณฑิรา ดวงจินดา และศิริเดช สุชีวะ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education, 13(3), 401–412.

ภานุมาศ จินารัตน์และพนมพร ช่วงชิง. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะครูที่ดีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 663-672.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

_________. (2560). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต, สาขาวิชาชีพครู. (2566). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566). สกลนคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เอกลักษณ์ เพียสา จำรัส กุลพันธ์และทิพย์ โอษฐงาม. (2564). การพัฒนาตัวบงชี้คุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(3), 233-244.