คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดทำงบการเงิน ของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลจากการศึกษาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดทำงบการเงิน ของสำนักงานบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผ่านแบบสอบถาม และนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในทางสถิติแล้ว สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ด้านประชากรศาสตร์เกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ พบว่ามีอายุระหว่าง 21-40 ปี มากที่สุด โดยตำแหน่งงาน พบว่า มีตำแหน่งการจัดทำบัญชีและออกงบการเงินมากที่สุด ซึ่งระยะเวลาการทำงาน พบว่ามีระยะเวลาการทำงาน 11 - 15 ปี มากที่สุด ในส่วนตัวแปรต้นด้านคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่สำรวจได้ 100 ตัวอย่าง ทั้ง 3 ด้าน ภาพรวมคะแนนของผู้ตอบแบบสอบอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.12) ซึ่งเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการตอบสนองและการบริการต่อลูกค้า มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.19) ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.13) ด้านวิชาชีพบัญชีมีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.05) โดยด้านคุณภาพของการบริการจัดทำงบการเงินของนักบัญชีที่พึงประสงค์ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่สำรวจได้ 100 ตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อมูลคุณภาพของการบริการจัดทำงบการเงินของนักบัญชีที่พึงประสงค์ ทั้ง 3 ด้าน ภาพรวมคะแนนของผู้ตอบแบบสอบอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.11) ซึ่งเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.17) รองลงมา ด้านความเชื่อถือได้ มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.12) และด้านความเข้าใจ มีคะแนนเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.05) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลภู สันทะจักร์ และคณะ. (2561). คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว และคณะ. (2560). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก. การค้นคว้าแบบอิสระ. บัญชีมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2556). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2547 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=5061&filename=index [2567, มกราคม 12]
ดาระณี สุรินทรเสรี. (2559). คุณสมบัติที่จำเป็นของนักบัญชีในการบริการของสำนักงานบัญชี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). สถิติภาพรมตลาดรายปี. เข้าถึงได้จาก https://www.set.or.th/th/market/market statistics.html [2567, มีนาคม 2]
ทิพย์ปาสิดา วรัญชิตอัคริมา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสำนักงานบัญชีในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รชตะ รัตนโชติ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ ด้านคุณภาพการบริการกรณีศึกษาสำนักงานบัญชีแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วฤดดา พิพัฒนกุล และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วันวิสา กลิ่นหอม และคณะ. (2561). คุณลักษณะของนักบัญชีที่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สมบูรณ์ กุมาร และคณะ. (2565). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในจังหวัดน่าน. บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีของธุรกิจในจังหวัดลำปาง. บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.