แนวทางการบริหารจัดการงานการเงินให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยวงจร ADDIE ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนัญภรณ์ ธรรมใจ
พระมหาสกุล มหาวีโร, ผศ.ดร.
ชาลี ภักดี

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการงานการเงินให้เกิดประสิทธิภาพด้วยวงจร ADDIE ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ 2)แนวทางการบริหารจัดการงานการเงินให้เกิดประสิทธิภาพด้วยวงจร ADDIE ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 10 คน และการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ 8 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอแบบบรรยายพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า


          1) สภาพการบริหารจัดการงานการเงินให้เกิดประสิทธิภาพด้วยวงจร ADDIE พบว่า วงจร ADDIE ขั้นการวิเคราะห์ A ขั้นตอนการวางแผนเพื่อให้การจัดการงานการเงินมีประสิทธิภาพ ขั้นการออกแบบ D การกำหนดกลยุทธ์และแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ ขั้นการพัฒนา D การสร้างและนำไปใช้ตามแผนการที่ออกแบบไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า ขั้นการทดลองใช้ I การนำแผนการที่พัฒนาไว้ไปใช้จริง โดยการทดลองใช้จะช่วยให้ตรวจสอบและปรับปรุงระบบก่อนการเปิดใช้งานอย่างเต็มที่ ขั้นการติดตามประเมินผล E การติดตามและประเมินผล (Evaluation) การตรวจสอบว่าแผนงานหรือกลยุทธ์ที่ได้ดำเนินการไปนั้นมีผลลัพธ์ตามที่คาดหวังหรือไม่


          2) แนวทางการบริหารจัดการงานการเงินให้เกิดประสิทธิภาพด้วยวงจร ADDIE ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรจัดทำเป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน ให้มีการอัพเดตแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง การบริหารงานการเงินผ่านระบบทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ให้มีการอบรมให้ความรู้ทางการเงินแก่บุคลากรทางการศึกษา จัดทำคู่มือและขั้นตอนในการบริหารงานการเงิน โดยมีหลักการ ทฤษฎี กฎหมายเกี่ยวกับงานการเงิน ควรให้ใช้กระบวนการ OKR ในการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน

Article Details

How to Cite
ธรรมใจ ธ., มหาวีโร, ผศ.ดร. พ., & ภักดี ช. (2025). แนวทางการบริหารจัดการงานการเงินให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยวงจร ADDIE ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 9(1), 101–116. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/a-a08
บท
บทความวิจัย

References

จีรนันท์ ทองอ่วม. (2560). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ดวงเดือน เภตรา. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการเงินและบัญชีฝ่ายการเงิน. กองนโยบายและแผนมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ปรานี คะหาราช. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการเงินและการคลัง ตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เพราพรรณ เสาะแสวง. (2560). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการทางการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัย. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม) มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่. (2566). รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2566. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วนิดา ปอน้อย. (2560). รายงานการการศึกษาความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่เป็นไปตาม กฎระเบียบข้อบังคับทางด้านการเงินและพัสดุ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

ศรีประภา เสถียรอรรถ. (2563). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานการเงิน บัญชี ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สมฤทัย ทรงสิทธิโชค. (2561). การพัฒนาการบริหารจัดการระบบการเงินของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 2 (1) (2018): มกราคม - มิถุนายน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Spengler, Josephus Johannes. (2002). Guidelines for the Financial Management of School (Afrikaans Text, South Africa). available from http://www.education.gov. uk/school/adminandfinance/financialmanagement.