ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนของผู้สูงอายุ ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนและปัจจัยที่มีผลต่อระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัยได้แก่
กลุ่มผู้สูงอายุในเขตบางแค ที่มีอายุระหว่าง 60 - 79 ปี รวม 30,888 คน การคำนวณขนาดตัวอย่างใช้วิธีของ
ทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง 395 คน เก็บได้จริง 302 คน คิดเป็นร้อยละ 76.5 เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบวัด
ความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลที่มีข้อคำถาม 45 ข้อ เพื่อวัดระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัล 9 ด้าน ได้แก่ (1) สิทธิ
ความรับผิดชอบ (2) การเข้าถึงสื่อ (3) การสื่อสารยุคดิจิทัล (4) ความปลอดภัยยุคดิจิทัล (5) ความเข้าใจสื่อดิจิทัล (6) มารยาทในสังคมดิจิทัล (7) สุขภาพดียุคดิจิทัล (8) ดิจิทัลคอมเมิร์ซ และ (9) กฎหมายดิจิทัล โดยแบบวัดได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และได้นำไปทดลองใช้ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง
ผลการวิจัยพบว่า
(1) ผู้สูงอายุจำนวนมากกว่าครึ่ง (51.7%) มีระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลอยู่ในระดับมาก รองลงมา (23.4%) อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านจากคะแนนเต็ม 5.00 พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล (=4.01) ส่วนด้านที่มีคะแนนต่ำสุดได้แก่ด้านดิจิทัลคอมเมิร์ซ (=3.10)
(2) ผู้สูงอายุมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่บ้างในส่วนของสิทธิความรับผิดชอบ การไม่ระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานสมาร์ตโฟน การเริ่มมีพฤติกรรมติดมือถือ และยังขาดความรู้และทักษะในการตรวจสอบสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์
(3) เพศและอายุไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลของผู้สูงอายุ แต่ระยะเวลาในการถือครองสมาร์ตโฟนและระยะเวลาในการใช้งานสมาร์ตโฟนต่อวันมีผลต่อระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
วารสารธรรมศาสตร์, 38(1), 20-33.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (20 มีนาคม 2562). สถิติผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.dop.go.th
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ, กมลรัฐ อินทรทัศน์, และ ปิยฉัตร ล้อมชวการ. (2558). “รูปแบบการสื่อสารเพื่อการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศจากสื่ออินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย”. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1): 46-57.
ไทยรัฐ. (20 มีนาคม 2561). เล่ห์แก๊งคอลฯ รูปแบบใหม่ สุดฮิตโทรหาผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (3 พฤศจิกายน 2560). สถาบันเวชศาสตร์ฯ ผู้สูงอายุ เปิดศูนย์บริการดูแลผู้สูงอายุไทย. [Online]. แหล่งที่มา : http://www.dms.moph.go.th
สิทธิชัย คูเจริญสิน. (2559). “การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี” (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรีย์ บุญญานุพงศ์. (2534). เยาวชนและคนหนุ่มสาวยุคปัจจุบันในทัศนะของผู้สูงอายุ. เชียงใหม่:
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สศช. แถลงรายงานภาวะสังคมไทย
ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2560. [Online]. แหล่งที่มา : https://www.nesdb.go.th
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2559). การรู้ดิจิทัล. (Online). https://www.nstda.or.th, 19 กรกฎาคม 2562.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (literacy). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
Best, J. W. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Wan, Y., Nakayama, M., & Sutcliffe, N. (2012). “The impact of age and shopping experiences on the classification of search, experience, and credence goods in online shopping”. Information Systems and e-Business Management, 10(1): 135-148.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. New York: Harper and Row.
Zaidi, A. (2015). Ageing and Development. Brussels: United Nations Development Programme.