ปัญหาการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พฤหัส ปานรัตน์
ดวงสมร แก้วโกศล
เชาวลิตร เกตุมงคลสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจำแนกตามอายุ การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มีต่อการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 40 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่า t – test และ f – test เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)


         ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้ดูแลเด็กเล็กส่วนใหญ่มีความคิดต่อการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนของผู้บริหารในการจัดการศึกษา รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ ด้านการบริหารงานบุคลากรด้านการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และด้านการบริหารงานด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่มีต่อการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุ การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
ปานรัตน์ พ., แก้วโกศล ด., & เกตุมงคลสิทธิ์ เ. (2025). ปัญหาการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 9(1), 71–85. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/a-a06
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

_______. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพมหานคร : ครุสภา.

โกวิทย์ พวงงาม. (2562). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่นไทย : วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.

ชัยณรงค์ ใจแปง. (2560). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ราตรี นาสาทร. (2562). ความคาดหวังของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สายพิน จันทรสูง. (2561). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สมบัติ เขียวนิล. (2562). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหาร การศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อรอุมา สินสู่. (2562). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต