การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักนวัตกรรม PLC ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม พระชัยยะวงศาพัฒนา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

วีรวัฒน์ โนจา
พระครูวิทิตศาสนาทร, ผศ.ดร.
พศิน แตงจวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระชัยยะวงศาพัฒนา 2)สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักนวัตกรรม PLC ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระชัยยะวงศาพัฒนา 3)ทดลองรูปแบบฯ และ 4)ประเมินผลการพัฒนารูปแบบฯ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้สอน  จำนวน 10 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินการทดลอง และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า : 


          1) สภาพการบริหารวิชาการของโรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน สร้างความร่วมมือ มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน


          2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนได้รับการยืนยันจากผู้ เชี่ยวชาญโดยการสนทนากลุ่ม มี 4 ขั้นตอน คือ Plan-Do-Check-Act และ SC-Model ประกอบด้วย การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกันและการประยุกต์ใช้ความรู้ ใช้หลักนวัตกรรม PLC สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ


          3) การทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักนวัตกรรม PLC ได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ในการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายบริหารงานวิชาการในช่วงเดือนกันยายน 2565


          4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักนวัตกรรม PLC พบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการทำงานร่วมกัน และด้านการสื่อสาร หลังใช้รูปแบบมากกว่าก่อนใช้รูปแบบ และประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ธีระนันต์ โมธรรม. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

โรงเรียนพระปริยัติธรรมพระชัยยะวงศาพัฒนา (2562). รายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. เอกสารอัดสำเนา.

มนัส ภาคภูมิ และคนอื่นๆ. (2538). การพัฒนารูปแบบการจดการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.

วาโร เพ็งสวัสดิ์ . (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลยราชภัฏสกลนคร. 2 (4) : 3

วันชัย พงสุพันธ์. (2553). การศึกษาการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.

สมเกียรติ สัจจารักษ์ และคณะ. (2564). การจัดการเรียนรู้ผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ(PLC) ของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตฝ่ายประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 14(1), 15-28.

อภิสิทธิ์ อุคำ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Texas: Southwest Educational Development Laboratory.

Fullan,M. (2005). The New Meaning of Education Change. London: Routledge/Falmer.

Krungsri Academy (2564). Teamwork อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/effective-result-of-perfect-teamwork [ วันที่ 23 กันยายน 2566].