การบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวน การบริหารและการจัดการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการ 2) ระดับการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 327 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าตรงเชิงเนื้อหามากกว่า 0.8 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .953 วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับการบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- ระดับการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- การบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- สมการพยากรณ์การบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารและการจัดการ คือ การอำนวยการ (X6) และการประเมินสภาพปัญหา (X1) โดยการบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสามารถพยากรณ์ประสิทธิผล โดยรวมได้ร้อยละ 74.3 (R2 = 0.743) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวีร์ เกษบรรจง (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลศรีวิชัย, 5(2), 56-68.
ครองศักดิ์ แย้มประยูร, สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์ และพัชรา วาณิชวศิน (2561). ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาตามเกณฑ์ของรางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคอล์ม บอลดริจ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(3), 312-328.
จตุรภัทร ประทุม(2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชุมพร จำปา (2548).การนิเทศภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทินกฤต ชัยสุวรรณ, ไตรรัตน์ ยืนยง. ศรุดา ชัยสุวรรณและคณะ (2561). ประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยวิทยาลัยนครราชสีมา. 13(2), 35-45.
บูซิตา จันทร์สิงค์โทและสุบัน มุขธระโกษา (2560). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, ครั้งที่ 4, 73-80.
ปนัดดา ศิริพัฒนกุล. (2558). การศึกษาบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เพชรา กิติศรีวีรพันุ์ วาโร เพ็งสวัสดิ์ และชาญวิทย์ หาญรินทร์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 1(2), 77-82.
เรืองกิตติ์ วะชุม จำนง วง์ชาชม และดร.วนิดา หงส์มณีรัตน์ (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในกับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 1(3), 41-48.
วริศรา อรุณกิตติพร, ธนวิน ทองแพง และพงศ์เทพ จิระโน (2562). ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 14(1), 139-149.
เสน่ห์ กรแก้ว. (2542). การนิเทศแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มโรงเรียนไม้ตะเคียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอทุ่งหัวช้าว จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สังเวียน พิลาพันธ์ (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับระสิทธิผลการจัดการกระบวนการเรียนรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สุชาริณี ปันก้อน. (2561). การบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13 (2), 212-223.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2533). ชุดอบรมศึกษานิเทศก์ เล่ม 1. การศึกษานิเทศ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Harris B.M. (1985). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs. N J : Prentice - Hall. Heinich.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), pp. 607-610.