การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูน

Main Article Content

สามารถ บุญรัตน์

บทคัดย่อ

วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรี 2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรี และ3)แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดลำพูนจำนวน 400 คน เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ .887 สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ คาเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคนเพื่อยืนยันองค์ความรู้ที่ได้รับ


ผลการวิจัยพบว่า


1) ภาวะความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูน พบว่า โดยภาพรวมระดับมาก และด้านความโปร่งใสอยู่ในระดับปานกลาง


2) ปัจจัยภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูน พบว่า ปัจจัยหลักพรหมวิหาร ๔ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสถานภาพสมรส และวุฒิทางการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำส่วนตัวแปรเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำจึงยอมรับสมมติฐานที่ ๑ และปัจจัยหลักพรหมวิหารธรรม ด้านเมตตา ด้านกรุณา และด้านมุทิตา  มีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอุเบกขา ความสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำโดยรวมอยู่ในระดับต่ำจึงยอมรับสมมติฐานที่ ๒


3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูนโดยบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรม พบว่า 1) หลักเมตตา ได้แก่ การกำหนดนโยบายการดูแลคนทุกคนที่เกี่ยวข้องโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 2) หลักกรุณา ได้แก่ การจัดตั้งทีมแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่โดยคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพชีวิต 3) หลักมุทิตา ได้แก่ การฉลองความสำเร็จ การพิจารณาความดีความชอบโดยใช้คุณธรรมประจำใจ และ4) หลักอุเบกขา ได้แก่ กำหนดนโยบายการบริหารและการปกครองที่เป็นกลาง การมุ่งสร้างประโยชน์ส่วนรวม โดยการปฏิบัติงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
บุญรัตน์ ส. (2024). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความเป็นผู้นำของนักการเมืองสตรีในจังหวัดลำพูน. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 8(3), 444–460. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/b-032
บท
บทความวิจัย

References

การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์. (2556).ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีมหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณรารัฏฐ์ โพธินาม. (2566). สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยสถิติผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จังหวัดลำพูน มีผู้ออกมาใช้สิทธิสูงสุดอันดับ 1 เช่นเดียวกับปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.election66.tpchannel.org/?p=11606 [ 29 พฤศจิกายน 2566].

ธวัชชัย ตรีวรชัย. (2561). “ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 23 (1) (2561) : 71.

ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ. (2558). ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับพฤติกรรมองค์การ เชิงบวกที่เป็นผลมาจากการใช้ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 21 (2) (ธันวาคม) : 30.

ฐอรกาญจณ์ ฉายโชติธัญเจริญ. (2560). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ปรรณวัฒน์ ชูวิเชียร. (2562) ทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักการเมืองสตรีในรัฐสภา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 9. (3) (กันยายน-ธันวาคม) : 96.

พระมหาสกล ฐานวุฑฺโฒ (วงษ์เขียด). (2559). รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืนภาคเหนือตอนล่าง. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์พันธุ์ ศรีพิพิธ และเฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก. (2560). การศึกษาคุณลักษณะของนักการเมืองสตรีไทยในระดับท้องถิ่น. วารสารครุศาสตร์. 45 (3) (กรกฎาคม – กันยายน) : 125.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนสิชา ภักดิเมธี. (2560) บทบาทสตรีในการบริหารองคการปกครองสวนทองถิ่นจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11. (3) (กรกฎาคม-กันยายน): 198-199.

วชิรพงศ์ ศรีเจริญวงศ์. (2564). การส่งเสริมบทบาทสตรีในทางการเมือง :เปรียบเทียบกับต่างประเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 12 (2) (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 73.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์การโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11 (26) (กันยายน – ธันวาคม) : 162.

ศรีพนา ศรีเชื้อ. (2559). การเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของนายทหารหญิงชั้นสัญญาบัตรที่พึงประสงค์กองทัพอากาศตามแนวพุทธธรรม. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Best. J.W.. (1977). Research in Education. New jersey: Prentice – Hall.

Lynn R. Offermann and Kira Foley. (2020). Is There a Female Leadership Advantage?. Human Resource Management. Organizational Behavior. Social Issues [Online]. Publication Date: Feb 2020 DOI: 10.1093/acrefore/9780190224851.013.61.

Yamane.T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed.). Singapore : Times Printers Sdn.Bhd.