การประเมินผลการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบของสถานีดับเพลิงลาดกระบัง

Main Article Content

ชาลี ฉายาวรรณ
เฉลิมพล ไวทยางกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นในชุมชน ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400คน ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์
ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ประชากรอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ26-35 ปีการศึกษาอนุปริญญา ไม่มี
ประสบการณ์ด้านอาสาชุมชน 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวระดับความรู้ความเข้าใจแบบประเมินผลการฝึกอบรมดับเพลิง ขั้นต้นในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบของสถานีดับเพลิงลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ของสถานีดับเพลิงลาดกระบัง ทั้ง 4 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับความรู้ความเข้าใจมาก ( x̄=3.53, SD = .412) เมื่อแยกระดับความรู้ความเข้าใจแบบประเมินผลการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นในชุมชนพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีดับเพลิงลาดกระบังเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากด้านความเหมาะสม ( x̄= 3.89, SD =.482) ด้านความถูกต้อง ( x̄= 3.62, SD =.562) ด้านอรรถประโยชน์ ( x̄=3.34, SD =. 616) ด้านความเป็นไปได้ (x̄ = 3.32, SD =. 616) ปัญหาอุปสรรค ควรปรับปรุงด้านการประชาสัมพันธ์โครงการให้ทั่วถึงประชาชนใน ชุมชนบางกลุ่มมาอบรมน้อยไม่ตื่นตัว ไม่ค่อยให้ความสำคัญ บางชุมชนจัดสถานที่ในการฝึกอบรม ไม่เหมาะสม เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน สถานที่ที่ใช้ฝึกภาคปฏิบัติและทฤษฎีบางชุมชนคับ แคบอากาศร้อนในบางชุมชนอุปกรณ์ในการดับเพลิงไม่มีและไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงด้านการประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมให้ทั่วถึงชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการเข้าฝึกอบรมและเรียนรู้เบื้องต้นถึงการป้องกันและระงับ อัคคีภัย และการใช้อุปกรณ์การดับเพลิง การเก็บรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย