รูปแบบประเพณีการบวชนาคชุมชนหนองอ้อ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ธนกร ภิบาลรักษ์
ณัฎกฤต ชัยอริยเมธี
อภิวรรณ ศิรินันทนา
ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้ ทำการศึกษารูปแบบประเพณีการบวชนาค ของชุมชนหนองอ้อ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือคือ 1.การสัมภาษณ์  2.จัดสัมมนากลุ่มกับเครือข่ายงดเหล้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี  และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และประเพณีการบวชนาคของชุมชน 2. เพื่อเสนอรูปแบบประเพณีการบวชนาคในชุมชนสมัยใหม่ ผลของการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์และประเพณีการบวชนาคของคนในอดีตนอกจากได้บุญกุศลที่ลูกหลานได้เข้าสู่ร่ม กาสาวพัสตร์แล้วยังได้ความสุขสนุกสนาน บันเทิงเริงใจมีดนตรีบรรเลงขับกล่อม ในงานมีงานเลี้ยงในช่วงเย็นมีการสังสรรค์โต๊ะจีนอาหาร กับแกล้มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันเต็มที่  และเมื่อมีการดื่มการกินปัญหาที่พบคือมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนาคที่บวชบางคนก็เมาจนเช้าแทบบวชไม่ได้  หรือบางงานก็มีการทะเลาะกันตีกันนำมาซึ่งความเสียหายในงานบุญ ส่วนรูปแบบประเพณีงานบวชนาคแบบใหม่นั้น  มีการรณรงค์ทั้งภาครัฐ เอกชน  สถาบันการศึกษา การปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งชุมชนเอง  ให้ความรู้แก่คนในชุมชนได้ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เมื่อมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องจากงานบุญที่เคยมีการดื่มการกินก็ลดลงและสุดท้ายก็ไม่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดทั้งปีจนเป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดจันทบุรีได้รับรางวัลชุมชนคุณธรรม  หมู่บ้านศีลห้า  และหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองนอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องดื่มที่มาทดแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยคือ กาแฟหมา ชาเขียว น้ำโอเลี้ยง ที่ทำในชุมชนเพื่อให้คนมางานได้ดื่มทดแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนอีกด้วยรูปแบบประเพณีการบวชนาคในชุมชนสมัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสำงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมในชุมชนและนำรูปแบบประเพณีการบวชนาคในชุมชนสมัยใหม่นี้เป็น แบบแผนให้กับชุมชนอื่นๆ อีกต่อไป

Article Details

How to Cite
ภิบาลรักษ์ ธ., ชัยอริยเมธี ณ., ศิรินันทนา อ., & อิทธิมีชัย ฐ. (2023). รูปแบบประเพณีการบวชนาคชุมชนหนองอ้อ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 1–10. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

เดชา โต้งสูงเนิน. (2548). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเกษตร กรณีศึกษาบ้านม่วงคำ. ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยลัยเชียงใหม่

พระครูสารธรรมประสาธน์ (แช่ม กตสาโร). (2560). แนวทางการส่งเสริมประเพณีบวชนาคช้างที่มีผลต่อวิถีชีวิตของประชาชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

พระครูปริยัติธรรมคุณ. (2561). การบริหารการจัดการเชิงพุทธโดยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมใจ แก้วไข่. (2548). การประเมินศักยภาพและความต้องการในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านปรุ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สามารถ จันทร์สูรย์. (2555). ภูมิปัญญาไทย อ้างใน สัญญา สัญญาวิวัฒน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

สามารถ จันทร์สูรย์. (2558). ภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาโลก อ้างใน สัญญา สัญญาวิวัฒน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2552). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. สามเจริญพานิชย์

ศุภลักษณ์ ใจวัง. (2558). การศึกษาโครงสร้างหน้าที่และทและคุณค่าในพิธีกรรมของชาวไทเขินสันป่าตอง เชียงใหม่ คณะศิลปะศาสตร์บัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). เอกสารประกอบการทำโครงการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการ

สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). เอกสารประกอบการทำโครงการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการ