ความคิดเห็นของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีต่อสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน

Main Article Content

เพลินพิศ อ้นแก้ว
ภิรดา ชัยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดนนทบุรี เกี่ยวกับการจัดสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดนนทบุรีต่อการจัดสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดนนทบุรี จำนวน 320 คน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีเห็นด้วยกับการจัดสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีที่มีจำนวนครั้งที่ต้องโทษแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพก่อนต้องโทษ ประเภทความผิด และระยะเวลาต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษา แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
อ้นแก้ว เ., & ชัยรัตน์ ภ. (2023). ความคิดเห็นของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีต่อสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน 5 ด้าน. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 44–53. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.5
บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2563, 1 มกราคม). สิทธิผู้ต้องขัง. http://www.correct.go.th/rt103pdf/ report_table.php?date=2022-01-01&area=10&report.

กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์. (2563). คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐานสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ต้องขัง. นิวธรรมดาการพิมพ์.

กัญญา อึ้งเจริญวงศ์. (2555). คุณภาพชีวิตภายใต้การได้รับสวัสดิการของผู้ต้องขัง: กรณีศึกษาเรือนจำกลางเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา

เกษมสันต์ ดวงกลาง และสุวิชชา ปัทมจิตร. (2550). ความต้องการสวัสดิการของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

จำเรียง ภาวิจิตร. (2536). สาธารณมติ เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 4 (เล่ม 2). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ รัตนวงศ์. (2558). รูปแบบการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ : กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไมได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2557). การปฏิรูปเรือนจำจากสถาบันการลงโทษสู่ชุมชนแห่งความห่วงใย.วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 10(2), 1-32.

มนัสวี แผนสมบูรณ์ และคณะ. (2562). แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการต่อผู้ต้องขังสูงอายุ: กรณีศึกษาเรือนจำกลางคลองเปรมและทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร. เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 683-701.

รัฐศาสตร์ อำมาตย์ไทย. (2561). การปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังในเรือนจำ:กรณีศึกษา เรือนจำกลางสมุทรปราการ. [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เรือนจำจังหวัดนนทบุรี. (2564, 25 สิงหาคม). ประวัติเรือนจำ. http://www.correct.go.th/popnont/?page_id=42.

สุวภัทร พิรณฤทธิ์ และคณะ. (2555). คุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ: กรณีศึกษาเรือนจำกลางและทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ Graduate Research Conference 2012 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 956-963.

อาภากร งามปลอด. (2558). การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง เรือนจำกลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Oskamp, S. (1977). Attitudes and Opinions. Prentice - Hall.

Thomas, J. Z. (1959). Dictionary of Social Science. Public Affair Press.