การบริหารความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหารจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหารในสถานการณ์โควิค19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้ประชากรทั้งหมดคือ บุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหาร จำนวน 35 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหาร ที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการทำงาน เงินเดือนและค่าตอบแทนต่างกัน ทำให้ความเครียดในการทำงานโดยภาพรวมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยด้านการทำงาน ด้านค่าตอบแทนสวัสดิการและความมั่นคงในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านสภาพในการทำงาน ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์กร ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ กองพยาบาล กรมแผนที่ทหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
นันทวดี อุ่นละมัยและคณะ. ( 2561). การจัดการความเครียดในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของบุคลากร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(1), 104-117.
นนทภรณ์ รักศิลธรรม. (2562). ความเครียดในการทำงาน กลวิธีการเผชิญปัญหาความเครียดและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(2), 163-176.
สมชาย พลอยเลื่อมแสง. (2535). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะเวลาที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาล กับระยะเวลาที่กลับไปอยู่ในชุมชนของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารจิตเวชวิทยาสาร, 8(2), 18-36.
สิมาพร พรมสาร. (2564). ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารเวชสารแพทย์ทหารบก, 74(3), 197-204.
สมชาย พลอยเลื่อมแสง. (2547, 23 มีนาคม). ทัศนคติและการรับรู้เรื่องรูปร่าง ความเครียด และความต้องการควบคุมน้ำหนักของวัยรุ่นไทย. http://library.dmh.go.th/sp/dublin.php?ID=1873#.Yt-LAXZBzIU.
นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, วิภาดา ศรีเจริญ, นุชจร ครองดี,และสุทธญาณ์ เพ็งปรางค. (2562). ความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ. EAU HERITAGE JOURNAL Social Science and Humanity, 9(3), 194-201.
ธิติ ดวงสร้อยทอง. (2557). ความเครียดและปัจจัยทีเกี่ยวข้องของพยาบาล สถาบันบําบัดรักษาและฟืนฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(4), 695-703.
อมรรัตน์ ตันติทิพย์พงศ์. (2562). การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและภาวะเครียดจากการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 33(1), 203-216.
Lazarus, R. S., Folkman, S.,(1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer The participants were 517 adolescents and young adults (age M = 18.95). Journal of Personality and Social Psychology, 46(4), 839-852.
Aldwin, C. F., & Schaefer, S. C., Coyne, JC, & Lazarus, RS. (1980, August). Wavs of coping: A process measure. In meeting of the American Psychological Association, Los Angeles.