ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาในชุมชนด่านเกวียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. วิเคราะห์บริบทของพื้นที่ชุมชนด่านเกวียนและกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน 2. สังเคราะห์องค์ความรู้จากการสำรวจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากฐานแนวคิดของ BCG โมเดล เพื่อนำไปเป็นแนวทางการสร้างกลยุทธ์ให้เกิดกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 3. ศึกษากระบวนการสร้างนวัตกรรมทางสังคมเพื่อนำไปเป็นแนวทางการสร้างกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนด่านเกวียน กระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. แรงกระตุ้น 2. ข้อเสนอ 3. ตัวต้นแบบ 4. การยืนระยะ 5. การขยายขนาด และ 6. ความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ โดยแต่ละขั้นตอนนั้นได้มีการสร้างกลยุทธ์ เพื่อที่จะสามารถนำไปสู่จุดมุ่งหมาย คือ 1. ด้านกระบวนการ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ด้านวัสดุ การนำของเสียจากการผลิตเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง และ 3. ด้านภูมิปัญญา การถ่ายทอดและกระจายองค์ความรู้สู่ชุมชน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืน
Article Details
References
ชญานิษฐ์ พรหมสุวรรณ. (2562,).ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน. 18 มิถุนายน สัมภาษณ์ 2565
เทศบาลตำบลด่านเกวียน. (2562, 14 ธันวาคม). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. https://www.dankwiancity.go.th/pdf/16176118791-1617611879.pdf
ภาวินี บุญเนตร. ผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน. 28 มกราคม สัมภาษณ์ 2565
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563, 1 พฤศจิกายน.). BCG Economy Model คืออะไร.https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/what-is-bcg-economy-model/
เอซิโอ มานซินี่. (2561). เราต่างเป็นนักออกแบบ การออกแบบนวัตกรรมสังคม.Design, When Everybody Designs Design for Social Innovation. โดย เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.
Earth Overshoot Day, (2564) How many Earths? How many countries.https://www.overshootday.org/how-many-earths-or-countries-do-we-need/
Murray, Caulier-Grice, Mulgan (2010). The Open Book Of Social Innovation. The Young Foundation.