การสื่อสารองค์กรภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 กรณีศึกษา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

Main Article Content

เพ็ญสินี วิพัฒน์ครุฑ
สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการและการใช้สื่อในสื่อสารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอิทธิพลของบรรยากาศการสื่อสารในการสนับสนุนต่อประสิทธิภาพการสื่อสารองค์กรอีกทั้งอิทธิพลของความผูกพันองค์กรต่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรต่อประสิทธิภาพการสื่อสารองค์กรของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 26 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกมีการใช้รูปแบบการสื่อสารทุกรูปแบบเน้นการใช้สื่อใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ 2) มีการสื่อสารด้วยการให้ข้อมูล เพื่อมุ่งเน้นแก้ปัญหา พร้อมที่จะให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยจริงใจ มีการเอาใจใส่ต่อทุกกลุ่มผู้รับสาร สร้างความเสมอภาคต่อการเข้าถึง เข้าใจข้อมูลข่าวสารและมีความยืดหยุ่นในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก 3) การสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับงาน การสร้างความเพลิดเพลินในงานและการสร้างแรงจูงใจในการทำงานอันเป็นเหตุให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร และ 4) มีการให้ความช่วยเหลือทั้งบุคลากรและบุคลภายนอกอย่างเป็นมิตรคำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลักมีความอดทนอดกลั้นในการทำงานและการสื่อสาร พร้อมทั้งให้ความร่วมมือและสร้างสำนึกในหน้าที่ ที่ตนเองได้รับอย่างเต็มร้อย

Article Details

How to Cite
วิพัฒน์ครุฑ เ., & รุ่งศรีสวัสดิ์ ส. (2023). การสื่อสารองค์กรภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 กรณีศึกษา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 23–32. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563, 5 มีนาคม). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.

ณัฐยา ไพรสงบ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานผลิตอาหารว่างแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วธูสิริ มากแสง. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจหลักสูตรภาษาไทยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

สุกัญญา บูรณเดชาชัย. (2561). วารสารศาสตร์หลอมรวม: แนวคิด หลักการและกรณีศึกษาในประเทศไทย. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2559). Employee Engagement in Practice: ผูกใจพนักงานอย่างไรให้ได้ทั้งใจทั้งงาน. โรงพิมพ์ตะวันออก

Bakker, A. (2008). The work-related flow in inventory: Construction and initial validation of the WOLF. Journal of Vocational Behavior, 72(3), 400-414.

Crandall, Panel, & Spillam. (2014.) Relationship between organizational communication climate and interpersonal conflict management. Pakistan Journal of Psychology, 42(2), 1-20.

Coombs. (2012). Assessing Gibb's supportive and defensive communication climate: An examination of measurement and construct validity. Communication Research Reports, 28(4), 1-15.

Gibb J. R. (1961).Defensive communication. Retrieved form http://reagle.org/joseph/2010/ conflict/media/gibb-defensive-communication.

Robbins, S. P., & Judge, T. (2015). Organizational behavior. Pearson Education.