การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการโรงแรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรม กรณีศึกษา โรงเเรมนิวเเทรเวิลลอด์จ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค
นันท์วิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป
ศตวรรษ คันธจันทร์
อนุภา เสนปอภาร
Sookboromey Hay

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้สื่อดิจิทัลในการสื่อสารการตลาดของโรงแรมนิวเเทรเวิลลอด์จในจังหวัดจันทบุรีและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมของผู้ใช้บริการในจังหวัดจันทบุรี วิธีการวิจัย วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงแรมนิวเเทรเวิลลอด์จ จำนวน        5 คน และผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression) ผลการวิจัย เชิงคุณภาพคือ โรงแรมนิวแทรเวิลลอด์จมีรูปแบบการนำเสนอสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารการตลาด เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม เป็นต้น ผลการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ทำให้เกิดการสื่อสารการตลาดรูปแบบใหม่ และ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ทุกปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นัยทางทฤษฎี/นโยบาย ผลการวิจัยสนับสนุนทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ7 P’s และเกี่ยวกับการตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing)

Article Details

How to Cite
สุชัยรัตนโชค อ., ตั้งแสงประทีป น., คันธจันทร์ ศ., เสนปอภาร อ., & Hay, S. (2022). การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสื่อสารการตลาดของผู้ประกอบการโรงแรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรม กรณีศึกษา โรงเเรมนิวเเทรเวิลลอด์จ จังหวัดจันทบุรี. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 5(2), 78–86. https://doi.org/10.14456/jsmt.2022.8
บท
บทความวิจัย

References

บงกช ขุนวิทยา. (2556). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรมน บุญศาสตร์. (2558). การสื่อสารการตลาดสู่กลุ่ม ผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น ซีในยุคดิจิทัล.วารสารวิชาการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1), 14-30.

สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ.(พิมพ์ครั้งที่ 4). วิทยพัฒน์.

ภัทรวดี เหรียญมณ. (2558). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการค่ายมวย (Boxing Gym) เพื่อการออกกําลังกาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Solomon, M. (2013). Consumer Behavior. (11th ed). New Jersey. Prentice.Hall.

Wertime, K. & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing, the Essential Guide to New Media & Digital Marketing. (1st ed). New Jersey. Wiley & Son.

Hoyer, W. D. & Macinnis, D. J. (1997). Consumer Behavior. Boston: Houghton Mifflin.

Loudon, D. L., & Bitta, D. A. J. (1988). Consumer Behavior: Concept and. Applications (3rd ed). New York: McGraw-Hill

Mark Poster. (1995). The Second Media Age. Polity Press.