วิทยาการคำนวณกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
มนุษย์สามารถเรียนรู้ภาษาของตนเองได้ตามธรรมชาติเพื่อใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันแต่ในยุคปัจจุบันที่มีเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ภาษาตามธรรมชาติเหล่านี้อาจไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ภาษาดิจิทัลจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อคนรุ่นใหม่ ประเทศไทยได้นำวิทยาการคำนวณเข้ามาบูรณาการกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อปูพื้นฐานและพัฒนาให้เด็กไทยมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถสังเคราะห์และสร้างชุดคำสั่งเพื่อการทำงานกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ เด็กปฐมวัยจึงต้องมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษา ที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดการเรียนรู้ทางวิทยาการคำนวณโดยมีจุดเน้นในระดับปฐมวัย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การคิดเชิงคำนวณ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1. แบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหา (Decomposition) 2. พิจารณารูปแบบของปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหา (Pattern recognition) 3.พิจารณาสาระสำคัญของปัญหา (Abstraction) 4.ออกแบบอัลกอรึทึม (Algorithms) และส่วนที่ 2 คือ การเขียนโปรแกรมด้วยโค้ดดิ้ง (Coding) โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ครูปฐมวัยควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองผ่านกิจวัตรประจำวัน การทำอาหารอย่างง่าย การฟังดนตรี การเคลื่อนไหวตามแบบ หรือการเล่นเกมกระดานเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมและเกิดทักษะที่พร้อมต่อการเติบโตในยุคดิจิทัลได้ต่อไป
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). หลักสูตรอบรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ระดับอนุบาล. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กัลยา โสภณพนิช. (2564, 18 มกราคม). การประชุมทางไกล ชี้แจงการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและCoding [Video]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=X3Zmji4Khvw&t=292s.
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย. (ม.ป.ป.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคำนวณในชีวิตประจำวัน. https://www.littlescientistshouse.com/theme_domar/custom/images/pages/download/files/childhood/exploration_card/calculation.pdf.
มติชน. (2562, 18 กันยายน). ไขข้อสงสัย Coding กับวิทยาการคำนวณ ตัวช่วยจัดระบบการคิดของเด็กไทยยุค 4.0. https://www.matichon.co.th/advertorial/news_1675631.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2561, 24 มกราคม). วิทยาการคำนวณคืออะไร. https://school.dek-d.com/blog/kidcoding/computational-science/
วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง. (2561, 18 ธันวาคม). วิทยาการคำนวณ. https://www.scimath.org/ lessontechnology/ item/8808-computing-science.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564, 14 ธันวาคม). เด็กปฐมวัยกับการคิดเชิงคำนวณ. Facebook. https://www.facebook.com/watch/?v=397682952047805.
Coding Thailand. (2021). วิทยาการคำนวณ Coding Thailand by Grit Connect. https://codingthailand.org/computer-science.
Hong Ji-yeon & Shin Kap-cheon. (2562). Unplugged Coding สนุกกับวิทยาการคำนวณ (พิริยาพร ค้าเจริญดี, ผู้แปล, (พิมพ์ครั้งที่ 1). นานมีบุ๊คส์.
Metin. S. (2020, August 18). Activities – based unplugged coding during the preschool period. International Journal of Technology and Design Education. 32, 149-165. http://doi.ord/10.1007/s10798-020-09616-8.
University of York. (n.d.) What is computational thinking? https://online.york.ac.uk/what-is-computational-thinking/
Victoria, K. (2022, December 6). What is computational thinking? https://teachyourkidscode.com/what-is-computational-thinking/
Wing, J. M. (2006). Computation Thinking. Communication of AMC, 49(3), 33-35.