มุมมองเชิงศิลปะในฉากที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศในภาพยนตร์ไทย

Main Article Content

วศิน มูลประเสริฐ
บรรจง โกศัลวัฒน์
ปัทมวดี จารุวร
เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว
สุชาติ โอทัยวิเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการทำการศึกษาความเป็นศิลปะในฉากความสัมพันธ์ทางเพศในภาพยนตร์ไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวบทของภาพยนตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.วิเคราะห์ความเป็นศิลปะในฉากที่มีความสัมพันธ์ทางเพศในภาพยนตร์ไทย 2. เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในการแบนภาพยนตร์และนำไปสู่การแก้ไข พรบ.ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ 2551 ผลของการศึกษาพบว่าภาพยนตร์ไทยที่มีการนำเสนอฉากความสัมพันธ์ทางเพศนั้นมีการใช้การนำเสนอความงามทางด้านศิลปะและสุนทรียะอยู่ 2 ประเภทคือ 1.การนำเสนอในด้านความงามทางกาย โดยเป็นการนำเสนอความงามในแง่มุมของการสร้างภาพในฉากให้มีความสวยงามประสานกลมกลืนกันของทัศนธาตุและการจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะเพื่อให้ผลของภาพเกิดความประทับใจต่อผู้ชม และ 2.การนำเสนอในด้านความงามทางใจ ซึ่งเป็นการนำเสนอความงดงามของความรู้สึกในตัวเนื้อหาของภาพยนตร์ โดยภาพในฉากนั้นไม่ใช่ใจความสำคัญหลักในการนำเสนอของภาพยนตร์แต่เป็นเพียงองค์ประกอบของการเล่าเรื่องในภาพยนตร์เท่านั้น


            และด้วยความที่ภาพยนตร์เป็น สื่อมวลชนกระแสหลัก การนำเสนอภาพฉากความสัมพันธ์ทางเพศจึงจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดค่านิยมที่ผิดเพี้ยนและพฤติกรรมเลียนแบบที่อาจทำให้สังคมเกิดความวุ่นวายได้ ทำให้บางครั้งเกิดข้อพาทระหว่างผู้สร้างภาพยนตร์กับคณะกรรมการตรวจสอบ ภาพยนตร์ที่มีการนำเสนอฉากความสัมพันธ์ทางเพศจึงควรใช้การนำเสนอฉากความสัมพันธ์ทางเพศในด้านศิลปะและสุนทรียะในด้านการนำเสนอความงามทางกายและความงามทางใจให้มีความสมดุลกัน เพื่อให้ภาพภายในฉากที่นำเสนอความสัมพันธ์ทางเพศยังคงมีความงามอยู่ในกรอบของความเป็นศิลปะและสุนทรียะ

Article Details

How to Cite
มูลประเสริฐ ว., โกศัลวัฒน์ บ., จารุวร ป., แสงสิงแก้ว เ., & โอทัยวิเทศ ส. (2024). มุมมองเชิงศิลปะในฉากที่แสดงความสัมพันธ์ทางเพศในภาพยนตร์ไทย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(1), 41–50. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.4
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2551, 20 มกราคม). พระราขบัญญัติภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ. 2551.http.m-culture.go.th/article_fileattach_20201111155509.pdf

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา .(2552). ศิลปะแขนงที่เจ็ดเพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3).พับคิล บุเคอรี.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). คู่มือสำหรับการพิจารณาภาพยนตร์ และ วิดิทัศน์.คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

สลิตตา ทรัพย์ภิญโญ. (2545). สุนทรียทัศน์ของสื่อสารการแสดงฉากกามารมณ์ในภาพยนตร์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิชัย แสงกระจ่าง. (2551). เลียฟ นิโคลาเยวิช ตอลสตอย:ศิลปะคืออะไร? = What is art?. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โอเพ่นบุ๊ค.

Ilaw-freedom. (2558, 5 มกราคม). “สรุปประเด็นตามคำฟ้อง และบรรทัดฐานการแบนหนังที่ได้จากคดี Insects in the Backyard”. https://freedom.ilaw.or.th/th/case/140#detail