ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก

Main Article Content

ศิริภัทร สิตไทย
ดวงฤดี ตันเจริญ
ญานิน ตันวัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)          


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การโฆษณาที่มีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์: ซึ่งเน้นการใช้เครื่องมือภายในแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกเพื่อสร้างความน่าสนใจและมีความหลากหลายในการโฆษณา การใช้ผู้มีอิทธิพลระดับต่ำหรือบุคคลทั่วไปในการรีวิวสินค้าหรือบริการ และการสื่อสารเนื้อหาที่ดึงดูดใจ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคข้ามโฆษณาและสร้างความรับรู้ที่เชิงบวกต่อโฆษณา 2) กลยุทธ์การขายโดยพนักงานขาย: โดยโฆษณาด้วยข้อมูลที่ชัดเจน เน้นการให้ความสำคัญต่อการรับรู้ช่องทางการเข้าถึงสินค้า ทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำและนึกถึงแบรนด์ได้ ซึ่งส่งผลให้มีการตัดสินใจซื้อและการบริโภคสินค้าหรือบริการในอนาคต 3) กลยุทธ์การตลาดทางตรงและการตลาดดิจิทัล: ซึ่งผู้ประกอบการใช้สิ่งที่ผู้บริโภคถามหรือแสดงความเห็นมาสร้างสรรค์เป็นโฆษณาเพื่อสื่อสารกลับต่อผู้บริโภคโดยตรง ทำให้ผู้บริโภครู้สึกอยากให้คำแนะนำและแสดงออกความเห็นเพิ่มเติมในคลิปวีดีโอ ซึ่งสร้างความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์มากขึ้น

Article Details

How to Cite
สิตไทย ศ., ตันเจริญ ด., & ตันวัฒนะ ญ. . (2023). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผ่านแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(2), 62–74. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.15
บท
บทความวิจัย

References

กานต์พิชญ์ กิจเพ็ง, ปาริชาติ สุริยาพร และ วรรณี สุนทรีย์ประสิทธิ์. (2563). การใช้เครื่องมือทางการตลาดดิจิทัลเพื่อสื่อสารแบรนด์และการขยายช่องทางการจำหน่ายของธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(2), 50-62.

จิรวรรณ จันทร์กลางคันธารา และ ภัทร์ชัย ทองสุทธิสกุล. (2562). การนำเครื่องมือทางการตลาดดิจิทัลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์และการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าในธุรกิจออนไลน์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา, 13(2), 49-61.

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สิรินิธิ์ วิรยศิริ. (2566). สถิติการเติบโตของแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกภายในระยะเวลาสองปี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ปีที่ 6 (น. 12-14). สำนักพิมพ์เกียรติคุณ.

อภิชาติ ทองสุทธิสกุล, อลิสรา บรรณสายเลิศ, และ เสฎฐ์ธนา พงษ์กิจกนกเดช. (2564). ผู้บริโภคมีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับรู้โฆษณาบนแอปพลิเคชัน TikTok โดยเห็นและรับรู้ถึงคลิปวิดีโอโฆษณาภายในแอปนี้ได้. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 36(1), 37-52.

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2021). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. McGraw-Hill Education.

Chaffey, D., Ellis-Chadwick, F., Johnston, K., & Mayer, R. (2019). Digital Marketing. Pearson.

Chen, L., & Lin, M. (2021). The Impact of Ad Content and User Engagement on Consumer Attitudes: A Study of TikTok and YouTube. Journal of Interactive Advertising, 21(1), 16-30.

InsightERA. (2022, June 14). Thailand’s Top Social by Generation Usage. https://www.insightera.co.th/thailand-top-social-2022/.

Kim, S., & Kim, Y. (2022). Consumer attitudes towards influencer marketing on TikTok: The role of parasocial interaction and brand trust. Journal of Interactive Advertising, 22(1), 50-66.

Kotler, P., Keller, K. L., Brady, M., Goodman, M., & Hansen, T. (2017). Marketing Management. Pearson.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing. United Kingdom: Pearson Education Limited.

Kumar, V., Zhang, Y., & Luo, A. (2020). "The dynamics of consumer attitude formation and change in the era of online reviews. Journal of Marketing Research, 57(1), 71-89.

Roberts, H., & Lee, S. (2022). Understanding the effectiveness of brand-sponsored challenges on TikTok: An empirical investigation. Journal of Advertising Research, 62(1), 92-107.

Schiffman & Wisenblit. (2015). Consumer Behavior. England: Pearson Education Limited.

Shi, X., & Chen, C. (2021). Consumer attitudes towards price increases: Evaluation and emotions in response to price changes of products or services. Journal of Consumer Psychology, 45(2), 123-145.

Smith, A., & Johnson, B. (2018). Understanding consumer attitudes: A theoretical and empirical review. Journal of Consumer Psychology, 28(3), 414-435.

Smith, J. D., & Johnson, A. B. (2019). Exploring user behavior on social media platforms. Journal of Communication Studies, 27(3), 123-145.

Smith, P. R., & Zook, Z. (2018). Marketing Communications: Integrating Offline and Online with social media. Kogan Page.

Zhang, J., & Kim, D. (2022). Annoying or engaging? The Effects of Ad Intrusiveness on Consumer Attitudes: A Comparative Study of TikTok and YouTube. Journal of Marketing Communications, 28(2), 150-167