ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่ มีต่อสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรด้านเพศ ด้านชั้นปี และด้านสาขาวิชากับความพึงพอใจมีต่อสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้วิธีการเชิงสำรวจ (Survey research) ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 240 คน ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปประมวลผลโดยการใช้โปรแกรม IBM SPSS Statistics สถิติที่ใช้ในการพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ T-test และ One-Way ANOVA โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจต่อการรับชมสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.41, SD = 0.53) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน มีความพึงพอใจมากที่สุด (𝑥̅ = 4.45, SD = 0.60) ลำดับที่ 2 คือ ความพึงพอใจด้านภาพประกอบ (𝑥̅ = 4.44, SD = 0.56) ลำดับที่ 3 มีความพึงพอใจเท่ากัน ได้แก่ ด้านเนื้อหา (𝑥̅ = 4.40, SD = 0.55) และด้านการออกแบบกราฟิก (𝑥̅ = 4.40, SD = 0.60) และลำดับสุดท้ายด้านเสียง (𝑥̅ = 4.35, SD = 0.63)
การวิเคราะห์เชิงอนุมาน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ 1) ด้านเพศต่างกันของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 ไม่แตกต่างกัน 2) ด้านแต่ละชั้นปีของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) ด้านแต่ละสาขาวิชาของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา มีผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง TEQBALL 2023 ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
จินดารัตน์ ปลอดเปลื้อง และสราลี สนธิ์จันทร์. (2565). ความพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง เล่าลูกหนังนักบอล
ไทยสู่เส้นทางค้าแข้งในต่างแดน 2021 ของนิสิตสาขาวิชาสื่อสารมวลชนทางกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารสังคมศาสตร์, 11(2), 28-39.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). สิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับผู้เรียนยุคอินเทอร์เน็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง.
(หน้า 53-62). โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
จิตใส เกตุแก้ว. (2556). ความพึงพอใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาครูด้วยชุดฝึกอบรม e-Training. [สารนิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.
บุญชม ศรีสะอาด, และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535, 1 สิงหาคม). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่างการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.https://so02.tci- thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/148945/109451.
พิมพ์ชนก สิริพงศ์ทักษิณ. (2559). การเปิดรับและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์บริการของหอสมุดแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556, 20 กรกฎาคม). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book). https://maejopress2.mju.ac.th/wtms_newsDetail.aspx?nID=5140&lang=th-TH
ยุทธนา พิมพ์จักร. (2552). ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย
รามคำแหง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วศิน สันหกรณ์. (2557). ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และปัจจัยทางการตลาด ที่มีผลต่อการซื้ออะไหล่ ประดับยนต์ในสินค้าประเภทหลอดไฟฟ้าหน้ารถยนต์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย. (2565, 20 กรกฎาคม). ประวัติความเป็นมาของกีฬาเทคบอล.https://www.thaiteqball.org/about/history
เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. (2545). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องนวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุดารัตน์ จันทร์พุธ. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปกร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจรรยา วงศ์สวัสดิ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษร์ฐานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
โสภณ เคี่ยมการ. (2564). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อออนไลน์สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของ ผู้บริโภคในจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม มสธ. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 21-32.
อรรถพร วรรณทอง, พิทักษ์ สุรินทร์วัฒนกุล และวุฒิชัย ภูดี. (2566). สื่อดิจิทัลแบบความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สําหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(1), 57–69.
อาทิตย์ อินมา. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการถ่ายภาพบุคคลสําหรับนักศึกษาปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อารยา ระดิ่งหิน. (2561). การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระหว่างคนไทยในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยและคนเวียดนามในนครโฮจิมินห์ประเทศเวียดนาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 10(1), 106-116.
อัจฉรา เสาว์เฉลิม และจุฑามาศ บัตรเจริญ. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลักและวิธีสอนกระบี่กระบอง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 529-543.
อุษณีย์ ด่านกลาง และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนท์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 78-90.
Katz, E. et al. (1974). The uses of mass communication current perspective on gratification research. Sage Publications.
McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction. SAGE Publications.Thai PBS. (2566, 10 กันยายน). Teqball Thailand by Thai PBS.https://www.thaipbs.or.th/program/Teqball/episodes/97210
Urban Creature. (2566, 20 กรกฎาคม). ตีลังกาเตะบอลบนโต๊ะปิงปองโค้ง รู้จักกับ ‘Teqball’ กีฬาชนิดใหม่ ขวัญใจคนไทย หัวใจ. https://urbancreature.co/teqball/.