บทบาทที่พึงประสงค์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันและอนาคต
คำสำคัญ:
บทบาทที่พึงประสงค์, พระสงฆ์ไทย, ปัจจุบันและอนาคตบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่พึงประสงค์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันและอนาคต ผู้เขียนได้ศึกษาจากทฤษฎีบทบาทตามแนวคิดตะวันตก และบทบาทของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของพระธรรมวินัย ยุคสมัยและสังคม ที่ประกอบไปด้วย บทบาทในอุดมคติ ที่บุคคลเข้าใจ และที่แสดงออกจริง รวมถึงการศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้เขียนได้นำข้อมูลจากการศึกษาเอกสารนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ข้อสรุป พบว่า การเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระสงฆ์ไทยนั้น เกิดจากปัจจัยทางสังคม 3 ประการ คือ ยุคสมัย สภาพสังคม และการคล้อยตามรัฐ จึงมีแนวโน้มเป็นไปใน 3 ลักษณะ คือ 1) ต้องยึดตาม พระธรรมวินัยเป็นหลัก 2) ระมัดระวังปัญหาความสุ่มเสี่ยงต่อโลกวัชชะ เพราะความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้ผู้คนเข้าถึงข่าวสารได้รวดเร็ว และ 3) สังคมมีความคาดหวังหรือความประสงค์ว่า พระสงฆ์ควรเข้าไปมีบทบาทต่อสังคมใน 2 สถานะ คือ เป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และเป็นผู้นำในการสงเคราะห์ชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เพียงแต่ว่าพระสงฆ์จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสภาพสังคม นอกจากนั้นการดำเนินบาทบาททางสังคมของพระสงฆ์ต้องเป็นไปตามกรอบนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดไว้ จากการเปรียบเทียบผลของการศึกษานี้กับผลการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามีความแตกต่างกันคือ ผลการศึกษาที่ผ่านมาให้คำตอบว่าพระสงฆ์มีบทบาทอย่างไรและจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในขณะที่ผลการศึกษานี้มุ่งเน้นให้คำตอบว่า บทบาทของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบันและอนาคตควรเป็นไปอย่างไร จึงจะเป็นไปตามความต้องการของสังคมภายใต้กรอบของพระธรรมวินัย
References
กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). ประวัติพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จริยา จัตุพร. (2554). บทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน : กรณีศึกษาบทบาทและหน้าที่ของ พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล, ดร. (กฤษณา). ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จํานง อดิวัฒน์สิทธิ์. (2548). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
พระไพศาล วิสาโล. (2555). ทางธรรม พุทธศาสนากลางกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: โพสต์บุ๊กส์.
พระมหาสุภา อุทโท. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ไทยใน 2 ทศวรรษหน้า (2541-2560). ใน วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2545). กฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อนันต์ วิริยะพินิจ. (2529). บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยศึกษา.
Cohen & Orbuch. (1990). Introduction to Sociology. Singapore: Mc Graw-Hill.
Coleman E. (1981). The developmental stages of the coming out process. Journal of Homosexuality, 7(1), 19-32.
Sarbin T.R. (1975). Role Theory Handbook of Psychology. New York: Addison Wesley Publishing Company.