กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาของประชาชนที่มาท่องเที่ยววัดไร่ขิง  จังหวัดนครปฐม  2) ศึกษาการตัดสินใจมาท่องเที่ยวของประชาชนที่มาท่องเที่ยววัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม  3) ศึกษากลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  จำนวน  400 คน คำนวนจากสูตรของยามาเน่  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว  ด้านกิจกรรม  ด้านสิ่งดึงดูดใจ  และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ตามลำดับ
  2. การตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีความประทับใจในการท่องเที่ยววัดไร่ขิงและจะกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้งรองลงมาคือ การท่องเที่ยววัดไร่ขิงช่วยให้เกิดความสบายใจตอบสนองความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ 
  3. กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

ด้านสิ่งดึงดูดใจ  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม  ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านกิจกรรม ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยววัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม หรือไม่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรองแก้ว ตาลเจริญ. (2562). ท่องเที่ยวอาสาร่วมกันพัฒนาจังหวัดนครปฐม. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2562 จาก https://www.jitarsabank.com/job/detail/4947

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2558). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. ลำปาง : วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

ยุทธการ ไวยอาภา และคณะ. (2556). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

รสิมา อังกูร. (2554). ความพร้อมของวัดในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยผ่านการนำชมศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์. (2562). รายได้ท่องเที่ยวไทย สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก. เรียกใช้เมื่อ 11 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.bltbangkok.com/News/

สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว: ก้าวแรกสู่การเป็นผู้บริหารธุรกิจ ท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : อินทนิล.

อริศรา ห้องทรัพย์ และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2558). แนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อน ในภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โอริสา เชี่ยวเกษม. (2558). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนไตลื้อ ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/25/2020

How to Cite

วรธมฺโม พ. . (2020). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 389–404. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/240589

ฉบับ

บท

บทความวิจัย