การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ของหัวหน้างาน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

ผู้แต่ง

  • จีรทีปต์ ณ ลำปาง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรม, ทักษะภาวะผู้นำ, การสร้างทีมงาน, หัวหน้างาน

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของหัวหน้างาน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของหัวหน้างาน และได้ดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำมาสรุปเป็นองค์ประกอบหลัก พร้อมทั้งตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน  2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของหัวหน้างาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 2.1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2.2) ยกร่างโปรแกรม  2.3) ยกร่างคู่มือการใช้โปรแกรม 2.4) ประเมินผลโปรแกรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของทักษะภาวะผู้นำด้านการสรางทีมงานของหัวหน้างาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ด้านการก่อตั้งทีม 1.2) ด้านการรวมทีม  1.3) ด้านทักษะในการทำงานเป็นทีม 1.4) ด้านการปฏิบัติงานของทีม และ 1.5) ด้านการประเมินผลลัพธ์ 2) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของหัวหน้างาน มี 6 องค์ประกอบ คือ 2.1) หลักการของโปรแกรม 2.2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม  2.3) เป้าหมายของ โปรแกรม 2.4) เนื้อหากิจกรรมพัฒนาของโปรแกรม มีจำนวน 5 ชุดกิจกรรม ได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาด้านการก่อตั้งทีม ด้านการรวมทีม ด้านทักษะในการทำงานเป็นทีม ด้านการปฏิบัติงานของทีม และด้านการประเมินผลลัพธ์ 2.5) กระบวนการพัฒนาและวิธีการเสริมสร้าง มี 3 ขั้นตอน คือ 2.5.1) การใช้ชุดกิจกรรมสร้างทีมงาน 2.5.2) เทคนิคการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำ 70:20:10 2.5.3) การศึกษาดูงาน 2.6) การประเมินผล โดยใช้เวลาพัฒนา จํานวน 200 ชั่วโมง และผลการประเมินโปรแกรม พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (gif.latex?\bar{x}  = 4.44 , S.D. = 0.42)

References

บุญช่วย สายราม. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระพงศ์ ธนเจริญรัตน์. (2552). หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นําผบริหารบริษัทอู่กลางการประกันภัย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ์. (2556). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ฤทัย ทรัพย์ดอกคํา. (2553). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิมาน วรรณคํา. (2553). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของผู้บรหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบรหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศุภกานต์ ประเสริฐรัตนะ. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําแบบกระจายอํานาจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bernick, M. (2005). Job Training That Gets Results Ten Principles of Effective Employment Programs. Michigan: Pfeiffer.

Carman, R. Randall. (2010). Preferred Characteristics and Diversity of Top Leadership in Christian School. Indiana: Indiana Wesleyan University.

DuBrin. (2012). Principles of leadership (7th ed.). Australia: South-Western, Cengage Learning.

Fisher, J. G. (2005). How to Run Successful Employee Incentive Schemes. United Kingdom: Kogan Page Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/20/2020

How to Cite

ณ ลำปาง จ. . ., & ศิริสุทธิ์ ช. . (2020). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ของหัวหน้างาน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 363–377. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/241269

ฉบับ

บท

บทความวิจัย