กระบวนการกำหนดนโยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ฐิติวัฒน์ ถนอมศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

กระบวนการกำหนดนโยบาย, การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, จังหวัดฉะเชิงเทรา

บทคัดย่อ

กระบวนการกำหนดนโยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางกระบวนการกำหนดนโยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน             2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง  และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลด้วยโดยวิธีการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรามีส่วนร่วมกระบวนการกำหนดนโยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ในภาพรวมระดับมาก แยกตามประเด็นคือ 1) การตัดสินใจ 2) การวางแผน  3) การดำเนินงาน 4) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 5) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล

References

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2550). Public Administration Theory. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรเดช จันทรศร. (2554). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สหายบล็อก.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวทช. (2560). สู่เชิงพาณิชย์ปทุมธานี. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Bardach, E. (1980). The Implementation: What Happens after a Bill Becomes a Law. Cambridge: The M.T. Press.

Certo, S. C. (2000). Modern Management. New Jersey: Practice-Hall.

Dabney, U.B. (2013). Public Participation in Transportation Planning: How Does the Level of Engagement and Deliberation Affect Transportation Decisions in Virginia’s MPOs? ใน Doctor of Philosophy Public Policy and Administration. Virginia Commonwealth University.

Pressman, J. L. & Wilda, S., A. (1973). Implementation. California: University of California.

Sabatier, P.A. and Mazmanian, D.A. (1980). The Implementation of Public Policy: A Framework of Analysis. Policy Studies journal, 8(special issue), 538-550.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.

Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society, 9(45), 445-448.

Wastchak, D.R. (2013). Public Participation and the Impact of Third-Party Facilitators. ใน Doctor of Philosophy. Arizona State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/25/2020

How to Cite

ถนอมศิลป์ ฐ. (2020). กระบวนการกำหนดนโยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 90–101. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/241279

ฉบับ

บท

บทความวิจัย